กิจกรรมอบรมวิชาชีพ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.3 กิจกรรมอบรมวิชาชีพ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
1. อบรมให้ความรู้ทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการเริ่มต้น 2565
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ GSB Micropreneur 2565 สำหรับบุคคลทั่วไปได้เข้าร่วมอบรมฟรี โดยมีรายละเอียดหลักสูตร ดังนี้
1. วิชา สร้างธุรกิจยุค Covid เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
2. วิชา คุณค่าธุรกิจ ส่งต่อคุณค่าสังคม หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
3. วิชา การเข้าใจลูกค้าและเข้าใจเป้าหมายธุรกิจ หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
4. วิชา การตัดต่อวีดีโอและตกแต่งภาพอย่างมืออาชีพ หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
5. วิชา การสร้างยอดขายจาก Facebook Live หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
6. วิชา การสร้างแบรนด์สินค้าบนโลกออนไลน์ หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
7. วิชา การสร้างรายได้และอาชีพจาก YouTube หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
8. วิชา “TikTok Marketing ยุคใหม่” หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
9. วิชา “ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการออนไลน์” หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
10. วิชา “การเตรียมตัวเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมืออาชีพ” หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
2. โครงการพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไทย 4.0การอบรมเชิง
ปฏิบัติการการพัฒนาทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทย (On Site) ประจำปีงบประมาณ 2565
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีหลักสูตรระยะสั้น จำนวน 16 หลักสูตร ประกอบด้วย
1. หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพและการเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ “พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน"
2. หลักสูตรเทคนิคการสื่อสารในองค์กร
3. หลักสูตรออกแบบกราฟิกในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดียเพื่อธุรกิจด้วยตนเอง
4. หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
5. หลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
6. หลักสุตรอบรมเชิงปฏิบัติการบันทึกเสียงดนตรี
7. หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อมการสอบรับใบอนุญาตว่าความ
8. หลักสูตรการเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการถ่ายทอดกระบวนท่ารำนาฏศิลป์ไทย
9. หลักสูตรหลักสูตรธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น
10. หลักสูตรการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
11. หลักสูตรการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วยการสื่อสารที่ทรงพลัง
12. หลักสูตรการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ในศตวรรษที่ 21
13. หลักสูตรพิมพ์ ย้อม ลวดลาย สีธรรมชาติ (Eco printing)
14. หลักสูตรนักรัก โปรดักชัน
15. หลักสูตรการจัดรูปแบบการพิมพ์ การอ้างอิงและบรรณานุกรมสำหรับการทำผลงานทางวิชาการ
16. หลักสูตรการสอนภาษาจีนด้วย TBL
3. โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูที่มุ่งเน้นสมรรถนะของครูมืออาชีพ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูที่มุ่งเน้นสมรรถนะของครูมืออาชีพ กิจกรรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและศึกษานิเทศก์ทางด้านการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผลและการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นครู จำนวน 15 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน โดยระยะเวลาดำเนินการโครงการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 และสิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 โดยแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ดำเนินโครงการในรูปแบบออนไลน์ วันที่ 14, 20 กุมภาพันธ์ 2565 ครั้งที่ 2 ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ (on-site) วันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 และครั้งที่ 3 ดำเนินโครงการนิเทศติดตาม วันที่ 1 มีนาคม – 31 มีนาคม 2565 ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทเกษม
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ได้แก่
1) ครูจากโรงเรียนคุณภาพ จำนวน 3 โรงเรียนและศึกษานิเทศก์ 3 เขตพื้นที่ ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้การขยายผลแบบผสมผสาน (Blended training)
และการวัดประเมินผลตามฐานสมรรถะ
2) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดทำแผนการนิเทศติดตาม
3) ได้แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตลอดจนรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ
4. โครงการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน 2) เพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ 3) เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับศิษย์เก่า และ 4) เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โดยโครงการดังกล่าว จัดขึ้นในวันที่ 13-14 สิงหาคม 2565 ณ อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย และวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ณ อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งภายใต้โครงการมีกิจกรรมอบรม ต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อสอบอิงฐานสมรรถนะ การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และการสร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพผู้เรียนอิงหลักสูตรฐานสมรรถนะ รายละเอียดเพิ่มเติม
5. โครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (Enrichment Program)
โครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (Enrichment Program) มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อพัฒนานักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะด้านคุณลักษณะตามผลลัพธ์ที่กำหนดในแต่ละชั้นปี
2) เพื่อพัฒนานักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะด้านการสร้างสัมพันธ์กับชุมชนตามผลลัพธ์ที่กำหนดในแต่ละปี
3) เพื่อพัฒนานักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะด้านอัตลักษณ์ตามผลลัพธ์ที่กำหนดในแต่ละชั้นปี
โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2565 และวันที่ 3-4 กันยายน 2565 เป็นการอบรมแบบออนไลน์ รวม 4 วัน โดยมีนักศึกษาโครงการครูคืนถิ่น ปี 2560 เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน และปี 2561 จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน รายละเอียดเพิ่มเติม
6. โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS)
โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) การปรับปรุงบัญชีการปิดบัญชีและรายงานงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ”
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) การปรับปรุงบัญชีการปิดบัญชีและรายงานงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ” รุ่นที่ 1 วันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. 2564 ณ โรงแรม ประจักษ์ตราดีไซน์โฮเต็ล อ.เมือง จังหวัดอุดรธานี
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 50 คน
1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ การจัดทำรายงานการเงิน การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน การบันทึกบัญชี ให้ถูกต้องตามระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
2. เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีได้ถูกต้องตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มมท 0808.4/ว 2608 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในผังบัญชีมาตรฐานที่ใช้ในระบบการบันทึกบัญชีในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS)
4. เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการบันทึกบัญชี รายงานการเงินและการตรวจสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานในระบบการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีภาครัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการปฏิบัติด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการบริหารงานพัสดุให้เกิดประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
7. โครงการถ่ายทอดอาชีพสู่ชุมชนในรูปแบบ YouTube รายละเอียด
8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ค่ายพระพุทธยอดฟ้า
มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ค่ายพระพุทธยอดฟ้าในระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการจัดออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning และมีทักษะในการจัดทำ สื่อการเรียนการสอนทั้งสื่อมัลติมีเดีย และสื่อทำ มือ ให้กับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ทั้ง 16 โรงเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่อง การจัดออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่สอดคล้องกับผู้เรียนและธรรมชาติวิชา
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษาะในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนทั้งสือมัลติมีเดียวและสื่อทำมือ
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ