กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต

กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต

ตัวชี้วัดย่อย 4.3.4 กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต

1. โครงการวิจัยเครือข่ายภูมิภาค (ภาคกลาง) เพื่อขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ ระดับจังหวัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ปีงบประมาณ 2565

            การศึกษา “โครงการขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ระดับจังหวัด : ภาคกลาง” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและปรับปรุงตัวชี้วัดของเครื่องมือสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ ระดับจังหวัด ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูล และระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัด 3) สร้างเครือข่ายในการในการสำรวจและบริหารจัดการจัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค และ 4) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค เพื่อนำใช้ในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาต่อองค์การสหประชาชาติและสาธารณะ

          พื้นที่การศึกษาประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นครนายก ลพบุรี สระแก้ว และระยอง กลุ่มเป้าหมายในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตัวแทนครูอาจารย์ของแต่ละระดับการศึกษา 3) ตัวแทนนักเรียน/นักศึกษาแต่ละระดับการศึกษา (ป.6, ม.3, ม.6, ปวช.3) 4) ตัวแทนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปวส.2, ปริญญาตรีปีที่ 3 และปีที่ 4) รวมกลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 620 คน 5 จังหวัด 3,100 คน

 

2. โครงการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนกองทุนการศึกษาโรงเรียน ตชด. และ อพ.สธ. กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนภายใต้โครงการกองทุนการศึกษาในพื้นที่ อำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี "การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน"

          สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนกองทุนการศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนภายใต้โครงการกองทุนการศึกษา ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี "การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน" วันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเรียนวัดคอกช้าง ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ด้านศิลปศึกษาให้กับครู และนักเรียน และเพื่อส่งเสริมทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านศิลปศึกษาให้กับครูผู้สอน

     

 

3. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับนักเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับนักเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในช่วงเดือน มกราคม  - กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เรื่องทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กับครูและนักเรียน การส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาไทยและส่งเสริมทักษะภาษาไทยให้กับนักเรียน และการเพิ่มทักษะการคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับระดับชั้นอนุบาล

4. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ค่ายวิชาการบูรณาการกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

          มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ค่ายวิชาการบูรณาการกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯในระหว่างวันที่ 27 – 28 เดือน  มิถุนายน  2565 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้ำน้อย ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้ครูมีความรู้และออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐาน และให้นักเรียนมีความรู้เรื่องคำศัพท์และการอนุรักษ์น้ำโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตบูรณาการและปลูกฝังให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล

มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล ในระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทักษะการท่องเที่ยวและพัฒนานักเรียนเป็นมัคคุเทศก์น้อยให้ตรงกับความต้องการในการรับบริการทางวิชาการ สำหรับครู และนักเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ได้ส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
2. ได้กิจกรรมท่องเที่ยวผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ระหว่างวันที่ 7 – 9 มกราคม 2565 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อกคี่ กิจกรรมที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ระหว่างวันที่ 15 – 17 มกราคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล และกรรมที่ 3 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาสวาย ระหว่างวันที่ 22 – 24 มกราคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไกรเกรียง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริมทักษะและพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้ตรงกับความต้องการในการรับบริการทางวิชาการ สำหรับครูและนักเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ครูและนักเรียนได้รับการพัฒนาองค์ ความรู้เรื่อง กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ 
2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 13 ในเขตพื้นที่จังหวัด กาญจนบุรี ได้รับการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3. ได้พัฒนาหลักสูตรการอบรม ที่ตรงกับความต้องการในการรับบริการทางวิชาการ สำหรับครูและนักเรียน

7. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ สอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้ ACT-THINK-FUN
มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้ ACT-THINK-FUN ในระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและเน้นกระบวนการคิด ให้กับครูโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษาในพื้นที่ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ครู ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2. ครู ได้รับการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมกระบวนการคิดและนักเรียนมีความสนุกสนาน

8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการติดตามประเมินครูปฐมวัยตามสภาพจริง ณ สถานศึกษา

โดยใช้เทคนิคแบบพาคิดพาทำ

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ ดำเนินการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง   การติดตามประเมินครูปฐมวัยตามสภาพจริง ณ สถานศึกษาโดยใช้เทคนิคแบบพาคิดพาทำ ภายใต้การวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยจัดให้แก่คุณครู ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 53 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดนครปฐม จำนวนทั้งสิ้น 4 โรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง ได้แก่ โรงเรียนวัดสามง่าม (คงทองอนุสรณ์) โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ โรงเรียนวัดโพธิ์งาม และโรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม และคณะครูโรงเรียนอื่น ๆ ในโครงการ ได้แก่ โรงเรียนวัดม่วงตารศ โรงเรียนวัดหนองปากโลง โรงเรียนวัดหนองเสือ โรงเรียนวัดกำแพงแสน โรงเรียนประถมฐานบิน และโรงเรียนวัดนิยมธรรม
ทั้งนี้ คณะคุณครูในโครงการ เป็นคณะครูที่ได้ผ่านการอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ชุดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว และได้ทำสัญญาลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเพื่อสร้างความร่วมมือกับกิจกรรมการวิจัยนี้

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ชุดกิจกรรมในการจัดกิจกรรมตามชุดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม

9.  กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน
 มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน ในระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะด้านศิลปศึกษาให้กับครูผู้สอนและนักเรียน 
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ครู ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา และนักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านศิลปศึกษาในโรงเรียน

10. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์    1) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผู้เรียนด้วยกระบวนการพัฒนาครูประจำให้มีสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ครูในมิติการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถาบันอุดมศึกษา 3) เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของครูในการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีกลุ่มเป้าหมายคือครูในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 40 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการเป็นรูปแบบการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้กับบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย

11. โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการแนะแนว

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการแนะแนว โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายได้รับประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ 2) เพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีกลุ่มเป้าหมายคือ ครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 โรงเรียน 47 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 6-7 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแม่น้ำรีสอร์ท ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการเป็นรูปแบบการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้กับบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย

12. โครงการพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม : ระยะที่ 2 การประชุมปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับครูเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม และ 2) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถาบันอุดมศึกษา โดยโครงการดังกล่าวนี้ มีครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 โรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 20 คน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม โรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ์ โรงเรียนวัดบึงลาดสวาย โรงเรียนวัดดอนหวาย และโรงเรียนวัดเกาะวังไทร ซึ่งกิจกรรมเป็นลักษณะการประชุมปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับครูเกี่ยวกับการดำเนินการกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดกลางบางแก้ว และระยะที่ 3 เป็นกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ จัดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2565

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
 จากผลสัมฤทธิ์โครงการมีผู้เข้าร่วมโครงการ 39 คน บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจภายหลังการอบรมจากการประเมินตนเองด้วยแบบสอบถาม ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.60 นอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้ของผู้เข้ารับการอบรม ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่าดับ 4.77