ผลการดำเนินงาน ปี 2022
SDG1-4 : Community anti-poverty programmes

1. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบ

ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน 

ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up

              โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบ

              คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการจังหวัดนครปฐม/ออนไลน์ (ตำบลหนองปากโลง) การดำเนินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชนมายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนอกงปากโลงในจังหวัดนครปฐม เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

     

 

       

2. โครงการ GSB Innovation Club

ตัวชี้วัดย่อย 1.4.2 การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน Local start-up

           โครงการ GSB Innovation Club

          ธนาคารออมสินเป็นองค์กรของรัฐ ซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับรัฐบาลได้วางรากฐานในการพัฒนาประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4.0 ธนาคาร จึงจำเป็นต้องสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ คือ นักศึกษา และเยาวชน ที่สนใจพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการ SMEs Startup ให้มีความเข้มแข็ง และตอบสนองนโยบายรัฐบาล พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจ SMEs Startup ให้สามารถดำเนินธุรกิจ และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างยั่งยืน

            เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการ ที่สามารถดำเนินธุรกิจแนวใหม่ โดยการปลูกฝังตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย  เพื่อให้เป็น Mass SME และ National Startup ได้ตามความมุ่งหวังของรัฐบาล และเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ SMEs Startup อย่างครบวงจร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs Startup จึงกำหนดจัดโครงการ GSB Innovation Club ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็นผู้นำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ SMEs Startup อย่างยั่งยืน โดยตั้งเป็น Co-Working Space ในมหาวิทยาลัย มีการกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาคิดค้นนวัตกรรม และสื่อสารผ่านช่องทาง Social Media โดยมุ่งให้การสนับสนุนกลุ่มคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษาที่มีความสนใจเริ่มธุรกิจ ให้มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ

           กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย

          1. กิจกรรม Innovation Club by GSB Startup

           ธนาคารออมสิน ร่วมกับมหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง Innovation Club by GSB Startup เพื่อใช้เป็นสำนักงานในการติดต่อประสานงานและขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมและสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ

          2. กิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup

           ธนาคารออมสิน ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการใช้พื้นที่ Innovation Club by GSB Startup กำหนดจัดกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup โดยธนาคารออมสินจะกำหนดโจทย์รายเดือน เพื่อให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงาน และนำผลงานส่งเข้าประกวดเพื่อชิงทุนการศึกษา ซึ่งมีนักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาที่สนใจและได้จัดส่งผลงานเข้าประกวดมากมาย อาทิเช่น

 

รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 30,000 บาท

ในการแข่งขัน สุดยอด Idea สร้างสรรค์ระดับประเทศ Smart Start Idea by GSB  Startup

โจทย์ประจำเดือนธันวาคม 2563 creative idea จากธุรกิจครอบครัวสานต่อเจ้าสัววัยเยาว์

 

3. โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ชุมชนท้องถิ่น

                  ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ

                 โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ชุมชนท้องถิ่น

                 เพื่อพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และนำความรู้ วิทยาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมภายใต้วัฒนธรรมความเป็นไทย และสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ยกระดับรายได้ครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายการพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ โดยยกระดับรายได้ หรือลดค่าใช้จ่าย โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เช่น พัฒนาอาชีพลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่ายในครัวเรือน หรือลดต้นทุนการผลิตได้อย่างยั่งยืน

     1. ขั้นตอน กระบวนการ และกิจกรรมที่เสริมหนุนต่อยอดในชุมชนท้องถิ่น

                             1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ให้กับคณะทำงานและผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้รับทราบแผนการดำเนินงานและแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกัน รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโครงการและการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  

  

                    1.2 การลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนเชิงประจักษ์ในหมู่บ้านเป้าหมาย โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะกับผู้ใหญ่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้นำหมู่บ้านได้ชี้เป้าหมายครัวเรือนที่ควรได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และสอบทานข้อมูลรายครัวเรือน โดยการเยี่ยมบ้านและสัมภาษณ์

 

   

   

 

                     1.3 วิเคราะห์ปัญหาของครัวเรือนเป้าหมาย พบว่า เป็นผู้มีรายได้น้อยประกอบอาชีพอาชีพรับจ้างทั่วไป (ตามฤดูกาล) และได้รับผลกระทบจาก COVID-19

                     1.4 การพัฒนาโครงการ คณะทำงานได้ออกแบบกิจกรรมและดำเนินการพัฒนาโครงการ ดังนี้

                               1.4.1 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากด้วยกิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัย

งานสัมมาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในระดับครัวเรือน รับผิดชอบโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                               1.4.2 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รับผิดชอบโดยคณะพยาบาลศาสตร์

                               1.4.3 โครงการการจัดอีเว้นโดยชุมชนเพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ รับผิดชอบโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

                         1.5 การดำเนินโครงการ ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – สิงหาคม 2564 ในการขับเคลื่อนกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของครัวเรือนเป้าหมาย

                         1.6 การติดตามการดำเนินงาน โดยการลงพื้นที่ติดตามรายครัวเรือน และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ 

                          1.7 การประเมินผลครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการโดยการเก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ 

            2. กิจกรรมที่หนุนเสริมในชุมชนท้องถิ่น ดังนี้

            สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยสมาชิกครัวเรือนร่วมดำเนินการ และบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ด้วยการให้นักศึกษาร่วมเรียนรู้และปฏิบัติงาน โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ประกอบด้วย

                       2.1 กิจกรรมลดรายจ่าย ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาให้ครัวเรือนมีแหล่งอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน ลดรายจ่ายค่าอาหารในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำ “ซุ้มเห็ดแก้จน” ด้วยแนวคิด “มีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้เสริม” ในพื้นที่บริเวณบ้านที่มีจำกัด และสมาชิกในครัวเรือนสามารถทำได้ง่าย

                       2.2 กิจกรรมเพิ่มรายได้ ได้แก่ การเพาะถั่วงอกยกระดับรายได้ให้กับครัวเรือน การผลิตผักปลอดภัย การเลี้ยงไก่ไข่พัฒนาแหล่งอาหารโปรตีนในครัวเรือน

                        2.3 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การให้ความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้

            3. ผลการดำเนินการข้อมูลเชิงประจักษ์ในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนการดำเนินการพัฒนา

            จากการดำเนินงานกิจกรรมยกระดับรายได้ครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายการพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ โดยกิจกรรมมีการหนุนเสริมทำให้ครัวเรือนมีแหล่งผลิตพืชผักและอาหารปลอดภัยในครัวเรือน นำไปสู่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 132 ครัวเรือน จากการเก็บข้อมูลพบว่า มีครัวเรือนจำนวน 118 ครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 หรือสามารถลดรายจ่ายได้อย่างน้อยร้อยละ 10 โดยครัวเรือนดังกล่าวสามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน สำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

            4. จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ 118 ครัวเรือน

4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างแกนนํา นักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่)” กลุ่มภูมิภาคมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก

         ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ

         โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างแกนนํา นักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่)” กลุ่มภูมิภาคมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างแกนนํา นักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่)” กลุ่มภูมิภาคมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนา และแก้ไข ปัญหาที่เกี่ยวกับชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยการสร้างให้นักศึกษาเป็นนักคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีเหตุและผล โดยยึดหลักคุณลักษณะ 4 ประการ ตามพระราโชบาย โดยมีการดำเนินกิจกรรมดังนี้

                   1. ในวันที่ 28 พ.ย. 63 สถาบันวิจัยและพัฒนาและกองพัฒนานักศึกษา นำนักศึกษา "วิศวกรสังคม" จำนวน 30 คน ลงพื้นที่ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อเก็บข้อมูลในชุมชน ค้นปัญหา และนำข้อมูลไปสังเคราะห์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างแกนนำนักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตก"

 

   

                    2. ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม เป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างแกนนํา นักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่)” กลุ่มภูมิภาคมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก สําหรับกิจกรรม ได้มีการแนะนําหลักสูตรการอบรม โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร การบรรยายหัวข้อ “แนวคิดวิศวกรสังคม พัฒนาทักษะเพื่อสร้างกระบวนการวิศวกร สังคม สุราษฎร์ธานีโมเดล” กิจกรรมนําเสนอไทม์ไลน์ ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ Content and Storytelling และทักษะการนําเสนอ โดย ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและคณะ “วิศวกรสังคม” ในการจัดอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษา แกนนํากลุ่มภูมิภาคตะวันตก มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องวิศวกรสังคม และเพื่อให้มี ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและสังเคราะห์แผนการแก้ปัญหาให้กับชุมชนใน การช่วยเหลือสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมจากมหาวิทยาลัยกลุ่มภูมิภาคตะวันตก ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ 34 คน และนักศึกษาแกนนํา 126 คน

                    3. ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ผศ.ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะ นำนักศึกษา 4 ราชภัฏวิศวกรสังคม ลงพื้นที่ชุมชนตำบลโพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม เพื่อฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือต่าง ๆ   โดย มีนาย สิทธิชัย ปฐมเจริญสุขชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 ตำบลโพรงมะเดื่อ ให้การต้อนรับและนำลงพื้นที่ได้แก่ สวนกุหลาบ สวนกระชาย สวนพืชล้มลุก และฟาร์มปลาสวยงาม สำหรับข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อนำมาฝึกวิเคราะห์ – สังเคราะห์ข้อมูล สะท้อนคิดสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ชุมชน

                   4. ในวันที่ 2 ธันวาคม 2563 พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษ “ราชภัฏวิศวกรสังคม” ในโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ “สร้างแกนนํานักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่)” กลุ่มภูมิภาคมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก โดยมี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาแกนนําวิศวกรสังคมของ 4 ราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และผู้นําท้องถิ่นร่วมให้การต้อนรับ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมนําเสนอไทม์ไลน์พัฒนาการ และกระบวนการจากการลงพื้นที่ชุมชน ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ Content and Storytelling และ ทักษะการนําเสนอ

 

5. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

              ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ

                โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มุ่งสร้างกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น University System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยจัดปฐมนิเทศและอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการจัดทำข้อมูลตำบลให้กับผู้รับการจ้างงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 สำหรับเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา

เอกสารเผยแพร่ข้อมูลสู่สารธารณะ

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=23976

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=24451

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=24677

6. กิจกรรมส่งเสริมการใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านเลี้ยงไก่ไข่ คลายวิกฤติเศรษฐกิจ จากโควิด-19

           ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ

           กิจกรรมส่งเสริมการใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านเลี้ยงไก่ไข่ คลายวิกฤติเศรษฐกิจ จากโควิด-19

          ในวันที่ 16 กันยายน 2564 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วย ผศ.ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดี ในฐานะผู้จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ : 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะ จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านเลี้ยงไก่ไข่ คลายวิกฤติเศรษฐกิจ จากโควิด-19 โดยได้นำไก่ไข่และอุปกรณ์ ไปมอบให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ต .โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม จำนวน 31 ครัวเรือน ทั้งนี้ ทีมงาน U2T ประจำตำบลโพรงมะเดื่อ จะทำการลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ การผลิตอาหารเลี้ยงไก่ไข่เพื่อลดต้นทุน และผลิตไข่ไก่คอลเรสเตอรอลต่ำให้กับประชาชน 

 

 

7. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน

           ตัวชี้วัดย่อย 1.4.4 นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน

           1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี เป็นที่ปรึกษาในพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดนครปฐม ในการวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนาทางด้านเกษตร ด้านแปรรูป (SME/OTOP) และด้านท่องเที่ยว ของจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการยกระดับรายได้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

             - ประกาศคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ     

           2.  มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ ประจำจังหวัด ในการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

            - คณะกรรมการการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด

 

8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ 

ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน 

ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up

           ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ 

          ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ณ ห้อง NPRU GSB Innovation Club มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 94 คน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้าน Digital Marketing พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติแก่ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป

   

9. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ

ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน 

ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up

                ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ

                 ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ สนับสนุนผู้ประกอบการที่มีไอเดียแล้ว ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ สร้างโอกาสพัฒนาธุรกิจให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืนเมื่อผู้ประกอบการพบเจอปัญหาด้านเทคโนโลยีหรือการดำเนินงานทางธุรกิจแล้วต้องการแก้ปัญหา ทางศูนย์บ่มเพาะฯ จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการทุกรูปแบบทั้ง ด้านผลิตภัณฑ์บริการ เว็บไซต์ การวางแผนธุรกิจการพัฒนาสินค้า โดยมีที่ปรึกษาเฉพาะด้าน เน้นการช่วยแก้ปัญหาธุรกิจ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ปัญหา ดังนี้ 

                    1. ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์เส้นหมูเส้นไก่

                    - ให้คำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น Ready to eat

                    - ให้คำปรึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์

                    - ประชุมหารือการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์เส้นหมูเส้นไก่

                    - ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

                    - ให้คำปรึกษาและสอนการยิงแอดการขายใน Facebook โดยเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่ออกกำลังกาย และรักสุขภาพ

                    - ให้คำปรึกษาการสร้างสตอรี่ใน FB เพื่อนำเสนอสินค้าให้มีความน่าสนใจ

    

 

                      2. ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา         

                       - ให้คำปรึกษาผลิตภัณฑ์

                      -  ให้คำปรึกษาด้านการตลาด / การสื่อสารการตลาด โดย คุณสหพัชร์ ชนะสิทธิ์

                       - พัฒนาแปรรูปปลาเส้นผลิตจากเนื้อปลาจีนโดยใช้เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัย  

                      - ปรับปรุงสูตรการแช่ปลาเพื่อยืดอายุ

   

 

                    3. ผลิตภัณฑ์พิซซ่า

                     - อาจารย์ที่ปรึกษาหาสูตรแป้งโดยใช้เทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย ศึกษาสภาวะการเก็บของวัตถุดิบหน้าพิซซ่า ลดวอเตอร์แอคทีวิตี้โดยการ

เวฟ,นึ่ง,แช่สารเคมี (เวลา,อุณหภูมิ) ตรวจวอเตอร์แอคทีวิตี้

                    - ดูสภาวะการเก็บของพิซซ่าจากการแช่เย็นกับอุณหภูมิห้อง ในเวลา 7 วัน ดูการเปลี่ยนแปลงของพิซซ่า โดยใช้รูปถ่าย การชิม การดม

(ในกล่องใส่ตัวดูดออกซิเจน ในกล่องเทียบกับเก็บปกติไม่ใส่ตัวดูดออกซิเจน)

                    -  เข้ารับบริการให้คำปรึกษาด้านการตลาด / การสื่อสารการตลาด

                    - ประชุมผลทดลองปรับสูตรการแต่งหน้าพิซซ่าในห้องปฏิบัติการที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ market Survey ด้วยแบบสอบถาม online

จากข้อที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย พิซซ่าหน้าหมูแดง พิซซ่าหน้าฮาวาเอียนปฐมนคร พิซซ่าหน้า ปฐมนครดับเบิ้ลชีส และพิซซ่าหน้าหมูแดงหมาล่า

                   -  ให้คำปรึกษาการพัฒนาการตลาดออนไลน์

 

   

                   4. ผลิตภัณฑ์ตู้ควบคุมการผลิตพืช

                   - ให้คำปรึกษาการศึกษาและทดลองเรื่องการใช้พลังงานของอุปกรณ์ Transceiver โดยใช้เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยฯ

                   - การประเมินระยะเวลาการทำงานและขนาดของแบตเตอรี่ที่เหมาะสม

                   - ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลา/ปริมาณในการให้ปุ๋ยให้น้ำที่เหมาะสมเพื่อนำมาทดลองผลิต

                    - ทำการวิเคราะห์ SWOT

  

 

 

 

 

 

10. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปี 2564

ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up

                       โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปี 2564

                 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีโครงการยกระดับมาตรฐานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP (One Tambon One Product) ของชุมชน เพื่อให้สามารถแข่งขันและต่อยอดธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน เป็นการยกระดับรายได้ของชุมชน ภายใต้โครงการ RAINs for Western Food Valley 2563 โดยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พาณิชย์จังหวัด พัฒนาการชุมชนจังหวัด เกษตรจังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทั้ง 8 จังหวัดร่วมกันขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งทำให้เกิดการซื้อวัตถุดิบในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังจัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ที่ได้รับการพัฒนาทั้งสิ้น 20 ผู้ประกอบการ จาก 8 จังหวัด ในภูมิภาคตะวันตก ได้แก่ นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร, สุพรรณบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสามารถสร้างโอกาสและรายได้ให้กับผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs เพิ่มมากขึ้น  เอกสารเผยแพร่ข้อมูลสู่สารธารณะ

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=26005

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=26048

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=26147

 

  

11. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น

 

ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ

 

12.  ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม