1. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบ
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up
โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบ
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการจังหวัดนครปฐม/ออนไลน์ (ตำบลหนองปากโลง) การดำเนินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชนมายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนอกงปากโลงในจังหวัดนครปฐม เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ณ ห้อง NPRU GSB Innovation Club มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 94 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้าน Digital Marketing พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติแก่ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป
3. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ สนับสนุนผู้ประกอบการที่มีไอเดียแล้ว ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ สร้างโอกาสพัฒนาธุรกิจให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืนเมื่อผู้ประกอบการพบเจอปัญหาด้านเทคโนโลยีหรือการดำเนินงานทางธุรกิจแล้วต้องการแก้ปัญหา ทางศูนย์บ่มเพาะฯ จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการทุกรูปแบบทั้ง ด้านผลิตภัณฑ์บริการ เว็บไซต์ การวางแผนธุรกิจการพัฒนาสินค้า โดยมีที่ปรึกษาเฉพาะด้าน เน้นการช่วยแก้ปัญหาธุรกิจ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ปัญหา ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์เส้นหมูเส้นไก่
- ให้คำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น Ready to eat
- ให้คำปรึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์
- ประชุมหารือการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์เส้นหมูเส้นไก่
- ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ให้คำปรึกษาและสอนการยิงแอดการขายใน Facebook โดยเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่ออกกำลังกาย และรักสุขภาพ
- ให้คำปรึกษาการสร้างสตอรี่ใน FB เพื่อนำเสนอสินค้าให้มีความน่าสนใจ
2. ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา
- ให้คำปรึกษาผลิตภัณฑ์
- ให้คำปรึกษาด้านการตลาด / การสื่อสารการตลาด โดย คุณสหพัชร์ ชนะสิทธิ์
- พัฒนาแปรรูปปลาเส้นผลิตจากเนื้อปลาจีนโดยใช้เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัย
- ปรับปรุงสูตรการแช่ปลาเพื่อยืดอายุ
3. ผลิตภัณฑ์พิซซ่า
- อาจารย์ที่ปรึกษาหาสูตรแป้งโดยใช้เทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย ศึกษาสภาวะการเก็บของวัตถุดิบหน้าพิซซ่า ลดวอเตอร์แอคทีวิตี้โดยการ
เวฟ,นึ่ง,แช่สารเคมี (เวลา,อุณหภูมิ) ตรวจวอเตอร์แอคทีวิตี้
- ดูสภาวะการเก็บของพิซซ่าจากการแช่เย็นกับอุณหภูมิห้อง ในเวลา 7 วัน ดูการเปลี่ยนแปลงของพิซซ่า โดยใช้รูปถ่าย การชิม การดม
(ในกล่องใส่ตัวดูดออกซิเจน ในกล่องเทียบกับเก็บปกติไม่ใส่ตัวดูดออกซิเจน)
- เข้ารับบริการให้คำปรึกษาด้านการตลาด / การสื่อสารการตลาด
- ประชุมผลทดลองปรับสูตรการแต่งหน้าพิซซ่าในห้องปฏิบัติการที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ market Survey ด้วยแบบสอบถาม online
จากข้อที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย พิซซ่าหน้าหมูแดง พิซซ่าหน้าฮาวาเอียนปฐมนคร พิซซ่าหน้า ปฐมนครดับเบิ้ลชีส และพิซซ่าหน้าหมูแดงหมาล่า
- ให้คำปรึกษาการพัฒนาการตลาดออนไลน์
4. ผลิตภัณฑ์ตู้ควบคุมการผลิตพืช
- ให้คำปรึกษาการศึกษาและทดลองเรื่องการใช้พลังงานของอุปกรณ์ Transceiver โดยใช้เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยฯ
- การประเมินระยะเวลาการทำงานและขนาดของแบตเตอรี่ที่เหมาะสม
- ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลา/ปริมาณในการให้ปุ๋ยให้น้ำที่เหมาะสมเพื่อนำมาทดลองผลิต
- ทำการวิเคราะห์ SWOT
4. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปี 2564
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปี 2564
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีโครงการยกระดับมาตรฐานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP (One Tambon One Product) ของชุมชน เพื่อให้สามารถแข่งขันและต่อยอดธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน เป็นการยกระดับรายได้ของชุมชน ภายใต้โครงการ RAINs for Western Food Valley 2563 โดยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พาณิชย์จังหวัด พัฒนาการชุมชนจังหวัด เกษตรจังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทั้ง 8 จังหวัดร่วมกันขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งทำให้เกิดการซื้อวัตถุดิบในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังจัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ที่ได้รับการพัฒนาทั้งสิ้น 20 ผู้ประกอบการ จาก 8 จังหวัด ในภูมิภาคตะวันตก ได้แก่ นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร, สุพรรณบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสามารถสร้างโอกาสและรายได้ให้กับผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs เพิ่มมากขึ้น เอกสารเผยแพร่ข้อมูลสู่สารธารณะ
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=26005
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=26048
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=26147