ผลการดำเนินงาน ปี 2023
SDG17 : Partnerships for the Goals

1. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม การบริหารจัดการงานดำเนินงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุงการพัฒนานโยบาย กลยุทธ์ต่าง ๆ ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการต่างๆ ดังนี้

1. สถาบันวิชชาจารย์สุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เปิดสถาบันวิชชาจารย์สุขภาพเพื่อผู้สูงอายุขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ และเพื่อดูแลผู้สูงอายุสู่การสร้างสังคมแห่งความสุข โดยเป็นสถาบันเพื่อการเรียนรู้และการแบ่งปันร่วมกันออกแบบและจัดบริการสุขภาพ ได้แก่ 1. ให้บริการ ดูแลสุขภาพและการวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และชะลอความเสื่อมสำหรับผู้ที่กำลังจะเกษียณ ผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและเพิ่มคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงอายุ 2. ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและคำแนะนำการมีสุขภาพที่ดี ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3. จัดหาบริการดูแลผู้สูงอายุภายใต้การดูแลของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพแบบครบวงจร 4. ร่วมกันฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอบรมหลักสูตรบริการวิชาการตามศาสตร์การดูแลสุขภาพ ศาสตร์การป้องกันและชะลอความเสื่อม ศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุ แก่ผู้ที่กำลังเกษียณ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ และ 5. พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสำหรับการวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และชะลอ ความเสื่อมสำหรับผู้ที่กำลังจะเกษียณ ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ รายละเอียดเพิ่มเติม

2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปีการศึกษา 2564-2568  

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปีการศึกษา 2564-2568 เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ 7 แห่ง ได้แก่

          1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

5. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

6. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

7. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ บนพื้นฐานความเสมอภาคและพึ่งพาซึ่งกันและกันในด้านวิชาการ งานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการพัฒนา สมรรถนะ และยกระดับสมรรถนะทางวิชาชีพการพยาบาล งานประกันคุณภาพการศึกษา งานทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม งานกิจการนักศึกษา งานวิเทศสัมพันธ์ และงานอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกัน รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดโครงการฉีดวัคซีนไซเบอร์เสริมภูมิสถานศึกษา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดโครงการ ฉีดวั ค ซีนไซเบอร์เสริมภูมิสถานศึกษา โดยมีคณะวิทยากรจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดย พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรฉิมพลี จนท.ชุดปฏิบัติการ 1 ศูนย์ปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ “รู้ทันกลลวงต่าง ๆ บนโลก ไซเบอร์ และเทคนิคการป้องกัน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมปิ่นเกลียว อาคารศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์และหอประชุม รายละเอียดเพิ่มเติม

 

4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)”

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” เรื่อง “Co-Creation รวมพลังงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพื้นที่และท้องถิ่น” และร่วมเป็น สักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “วิศวกรสังคมสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 27 แห่ง พร้อมกับได้ร่วมรับฟังการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “คุณภาพชีวิตและสังคมท้องถิ่นไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อน และผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชน  รายละเอียดเพิ่มเติม

5. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 สำหรับพิธีลงนามฯ ดังกล่าว สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบประชารัฐระหว่าง ราชการส่วนภูมิภาค คือ พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด ภาควิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กหรือ SMEs เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริโภค และเพื่อสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยผ่านการจัดนิทรรศการหรือ Digital Market Platform ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้มีการเชื่อมต่อตาม หลักการ University as a Marketplace รายละเอียดเพิ่มเติม

 

6. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับทำโครงการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ (ฉบับที่ 43)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประกาศให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่รับทำโครงการการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม 1
รายละเอียดเพิ่มเติม 2

 

 

2. บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อร่วมทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิต พัฒนางานวิชาการและงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อให้มีการริเริ่มและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน  การบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสรุปได้ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมประชุมกับศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

          ตามที่มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  ทาง SDSN THAILAND ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ประจำปี 2565 และร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานในปัจจุบันของสมาชิกแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งร่วมปรึกษาหารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายฯ ในวันที่ 19 พฤกษาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Online

 

2. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 รูปแบบออนไลน์

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World” ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย นำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ : กรณีศึกษา การผลิต และพัฒนากำลังคนรองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corrider: EEC) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้กับประธานสาขาวิชาหรือตัวแทนสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รายละเอียดเพิ่มเติม

3. การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.3 การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา คณาจารย์ งานวิจัย เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ทำงานร่วมกันระหว่างประเทศกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ อาทิ สถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถาบันอุดมศึกษาในไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อ

                   1. สนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์และบุคลากรต่าง ๆ

                   2. ส่งเสริมการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

                   3. พัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย

                   4. สร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย

                   5. สนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรด้านการเรียนการสอนภาษาไทย

                   6. ร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมทางด้านโครงการการศึกษา การประชุมสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น

                   7. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านทรัพยากรและวัสดุการเรียนการสอนตามที่ต้องการ

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ Beibu Gulf University สาธารณรัฐประชาชนจีน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับมหาวิทยาลัย Beibu Gulf สาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2565 ถึง ปีการศึกษา 2567 รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมประชุมสร้างแนวทางเตรียม MOU กับ Yunnan Normal University สาธารณรัฐประชาชนจีน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์กับ Yunnan Normal University สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย Mr. Xiucheng Wang คณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีนและคณะ เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ล้านช้าง-ลุ่มน้ำโขง พันธมิตรการศึกษาจีน แลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติม

4. การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.4 การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  

          มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม

 

2. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking 

                    มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมการจัดอันดับ Times Higher Education Impact Ranking ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking โดยให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะทำงานดังกล่าวฯ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการรายงานการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

3. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2564

มหาวิทยาลัยจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย วันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประชุมเพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  รายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

5. การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (โครงการนักศึกษาจิตอาสา)

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 โครงการนักศึกษาจิตอาสา

 1. โครงการนักวิทย์จิตอาสา

                    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโครงการนักศึกษาจิตอาสา โดย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาจารย์มนัส รงทอง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำทีมนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรม เด็กวิทย์จิตอาสา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาตระหนักถึงความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา ฝึกฝนให้นักศึกษามีความเสียสละ และบำเพ็ญประโยชน์ ต่อชุมชนและสังคม ณ วัดใหม่ปิ่นเกลียว ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม

  

 

2. โครงการส่งเสริมตำบลความดีวิถีบวร

                    สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมตำบลความดีวิถีบวร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และ 2) เพื่อให้ได้แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามวิถีบวร โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 และ 22-23 พฤศจิกายน 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง และองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา จังหวัดนครปฐม ซึ่งภายใต้โครงการมีนักศึกษาเข้าร่วมการจัดกิจกรรมอบรมต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมการบรรยายการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียนหรือราชการ) ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมอบรมปฏิบัติการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียนหรือราชการ) ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแนวจิตอาสา กิจกรรมอบรมเชิงสัมมนาเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามวิถีบวร และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเขียนแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามวิถีบวร กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายพลังบวรในชุมชนประกอบด้วยวัด ชุมชน และสถานศึกษา และการอบรมเชิงปฏิบัติการจิตอาสาพลังบวร

   

 

 

6. การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (โครงการวิจัย)

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการวิจัย     

1. การส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา
          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทางการแพทย์ ไอสยาม ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชน ในการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายได้ ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นฝ่ายสนับสนุนให้มีการพัฒนาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาในชุมชน และสถานศึกษา ทั้งนี้ฝ่ายวิสาหกิจชุมชนจะเป็นฝ่ายสนับสนุนทางด้านวิทยากร บรรยายความรู้ และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกัญชา รวมถึงด้านวัตถุดิบสำหรับใช้ในการพัฒนางานวิจัย รายละเอียดเพิ่มเติม

 

2. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย Flagship ประจำปี 2565

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย Flagship ประจำปี 2565 และจาก กองทุนส่งเสริม ววน. ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 3) รูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (Full Proposal) ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ผ่านกระบวนการให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้านของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ได้มีการบรรยายเรื่อง "การบริหารจัดการขอทุนอุดหนุนการวิจัย Basic Research Fund ประจำปีงบประมาณ 2566" รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. การเข้าร่วมงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2565 (Thailand Research Expo 2022

รศ.ดร.จักรพงษ์ แก้วขาว นำทีมนักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากศูนย์วิจัยแห่งความเป็นเลิศทางด้านแก้วและวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “The United Nations International Year of Glass 2022” ซึ่งได้รวบรวมผลงานวิจัยทางด้านแก้วในหัวข้อต่างๆ จุดประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำมาพัฒนาและปรับปรุงงานวิจัยให้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม

 

4. การบรรยายในหัวข้อ Glass Scintillator from Ln3+ Doping and Recent Development

          รศ. ดร. จักรพงษ์ แก้วขาว ได้รับเชิญให้เป็น invited speaker บรรยายในหัวข้อ Glass Scintillator from Ln3+ Doping and Recent Development รวมไปถึง รศ. ดร .ภัทรวจี ยะสะกะ ผศ. ดร. ปิยะชาติ มีจิตรไพศาล ผศ.ดร.วุฒิชัย ไชยภักษา และ นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จาก Center of Excellence in Glass Technology and Materials Science (CEGM), NPRU สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในงาน The 4th International Conference on Radiation and Emission in Materials (ICREM) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 เมษายน 2565 ณ โรงแรม Pullman พัทยา ชลบุรี

 

 

7. ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.4 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.4.1 ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนักศึกษาทุกคน ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของการดำเนินชีวิตให้มีความยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2566-2570

1. รหัสวิชา 4522201 รายวิชาโภชนศาสตร์ Nutrition สาขาวิชาการจัดการอาหาร (Food Management)

คำอธิบายรายวิชา :

          ความหมาย ประวัติและความสำคัญของโภชนาการที่มีต่อสุขภาพ หลักการของโภชนศาสตร์ โภชนบัญญัติ ธงและฉลากโภชนาการ ประเภทของสารอาหาร หน้าที่และปริมาณที่ควรได้รับ แหล่งสารอาหาร การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย หน่วยงานภายในและต่างประเทศที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาโภชนาการ

          คำอธิบายเพิ่มเติม :

           ผู้สอนจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ดังนี้ 

          1. ให้นักศึกษาทุกคนสำรวจสุขภาพของตนเอง ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI) จากนั้นให้วิเคราะห์ตนเองว่ามีสุขภาพอย่างไร กรณีที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีภาวะอ้วน ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไรพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และมีการติดตามผลว่าผู้เรียนสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือไม่ และมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือไม่ 

           2. ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยการอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคให้เหมาะสมกับเเต่ละบุคคล รวมถึงให้เห็นความสำคัญของการลดหวานมันเค็ม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เกิดจากการบริโภคอาหาร 

           3. กิจกรรมเกมส์ “Davinci game จานนี้กี่เเคล” ทำให้นักศึกษาคำนึงถึงปริมาณเเคลอรีที่ได้รับว่ารับประทานอาหารประเภทใด ให้เเคลอรีมากหรือน้อย เพื่อที่จะได้จำกัดปริมาณการบริโภคอย่างเหมาะสม

 

2. รหัสวิชา 4513207 รายวิชา อาหารเพื่อสุขภาพและความงาม Food for Health and Beauty สาขาวิชา การจัดการอาหาร ( Food Management )

 

คำอธิบายรายวิชา :

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี หลักการบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อาหารทางเลือก แมคโครไบโอติกส์ อาหารชีวจิต อาหารสมุนไพร อาหารก่อมะเร็ง อาหารต้านมะเร็ง อาหารคลีน อาหารคีโตจีนิกส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและฟังชันนาลฟูดส์ อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม และอาหารกลุ่มใหม่ที่มีผลต่อสุขภาพและความงาม

          คำอธิบายเพิ่มเติม :
          ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมสร้างการมีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี ดังนี้ 

          1. ให้นักศึกษาทดลองทำอาหารเพื่อสุขภาพคนละ 1 เมนูพร้อมนำเสนอ concept idea ว่าอาหารสุขภาพที่ทำเหมาะกับคนกลุ่มใด และมี phytochemical และ zoochemical อะไรบ้างในเมนูนั้นๆ 

          2. จัดการเรียนการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพและความงาม ได้แก่ อาหารลดน้ำหนัก, IF, Ketogenic diet,อาหารชีวจิต, south beach diet, Low CARB, Macrobiotics, CLEAN food, อาหารก่อมะเร็งและต้านมะเร็ง, วิธีการ burned เพื่อลดไขมันในร่างกาย, การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เป็นต้น

          3. จัดกิจกรรม Challenge ให้นักศึกษาแข่งกันลดน้ำหนักและ % ไขมันในร่างกาย โดยวัดก่อนเรียนตอนต้นเทอม และวัดอีกครั้งก่อนปิด course โดยให้คะแนนพิเศษสำหรับ นศ. ที่ทำสำเร็จ 5 %

          4. จัดกิจกรรม Challenge การวิ่งสะสม km. แข่งกับอาจารย์ผู้สอน

          5. จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ร้านอาหารมังสวิรัติบ้านอิ่มเย็น ร้านอาหารออร์แกนิกส์ ปฐมออร์แกนิกส์

          6. ให้นักศึกษาค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพมานำเสนอหน้าชั้นเรียนคนละเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียน

          7. เผยแพร่เมนูอาหารชูสุขภาพที่มีความโดดเด่น น่าสนใจลงในเพจสาขาฯ เพื่อการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์หลักสูตร

 

3. รหัสวิชา 1033210 รายวิชา เกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ Gamification for Learning สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา (Educational Technology and Innovation)

คำอธิบายรายวิชา :

          หลักการ แนวคิด ลักษณะ องค์ประกอบของเกมิฟิเคชั่น การออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเกมิฟิเคชั่น และฝึกปฏิบัติ

          คำอธิบายเพิ่มเติม :

          รายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่น กลไกเกม (Machanics) อารมณ์ของเกม (Emotions) พลวัตของเกม (Dynamics) การพัฒนาเกมิฟิเคชั่นจากกรณีศึกษา การออกแบบเกมิฟิเคชั่น การประยุกต์ใช้เกมิฟิเคชั่นเชิงธุรกิจเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งรายวิชานี้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยร่วมมือกับครูประจำวิชาประวัติศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชินีบูรณะ ในการพัฒนากิจกรรมเกมิฟิเคชั่น และการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน โดยครูประจำรายวิชาดังกล่าวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้านเนื้อหาในรายวิชาและพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักศึกษาในรายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ได้ออกแบบกิจกรรมเกมิฟิเคชั่นและการใช้เกมเป็นฐาน จากนั้นจึงนำกิจกรรมและเกมที่ออกแบบไปทดลองใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนต่อไป

4. รหัสหัสวิชา 4173704 รายวิชา การพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ Emergency Nursing and Disaster Management สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

คำอธิบายรายวิชา :

          แนวคิดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หลักการ การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาความเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกช่วงอายุทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอุบัติภัยและสาธารณภัย ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขภาวะ ฉุกเฉิน การบาดเจ็บในระบบต่างๆ ภาวะช็อก และการช่วยฟื้นคืนชีพ การจัดการภัยพิบัติหลักกระบวนการพยาบาล ประเด็นกฎหมายจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

คำอธิบายเพิ่มเติม :

          รายวิชาการพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ มีการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับ ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชและการคลอดฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้เจ็บป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน หลักการพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วย / ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ฝึกปฏิบัติการ: คัดแยกผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และ ณ ห้องฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบไหลเวียนโลหิต : การห้ามเลือด โดยการเย็บแผล ภาวะฉุกเฉินทางผิวหนัง การพยาบาลฉุกเฉิน ฝึกปฏิบัติการ : ประเมินและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บไฟไหม้/น้ำร้อนลวก/ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นลม ภาวะฉุกเฉินทางระบบทางเดินหายใจ ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบหายใจ (การเปิดทางเดินหายใจโดยการจัดท่า การใช้อุปกรณ์ และการใช้ Mask Valve Bag with self inflation) ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช การช่วยฟื้นคืนชีพ ฝึกปฏิบัติการ: ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน BLS, AED ฝึกปฏิบัติการ: การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) ภาวะฉุกเฉินระบบกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อและการยกเคลื่อนย้าย  ฝึกปฏิบัติการ: ดาม การเคลื่อนย้าย การถอดหมวกกันน้อค การใส่ cervical collar ภาวะฉุกเฉินทางช่องท้อง ในภาคปฏิบัติทางการพยาบาลสอน เรื่องการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการให้การช่วยเหลือ มีการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางจราจรที่สงสัยว่ามีภาวะกระดูกสันหลังส่วนต้นคอได้รับบาดเจ็บร่วมกับแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลนครปฐม การฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ของการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บกรณีเกิดอุบัติภัยหมู่ โดยใช้ระบบบัญชาการ (Incident command system) การฝึกปฏิบัติการยกเคลื่อนย้ายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นการนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้น ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในสถานการณ์จริง ทั้งมิติการส่งเสริม การป้องกัน การดูแล และการฟื้นฟู

 

 

 

8. การศึกษาสำหรับ SDGs: ในชุมชนที่กว้างขึ้น

ตัวชี้วัด 17.4 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.4.3 การศึกษาสำหรับ SDGs: ในชุมชนที่กว้างขึ้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  โดยบูรณการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เปิดโครงการการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 บทเรียนออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการศึกษา เรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป

1. การศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.)

         มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเปิดโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) ในปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยมีสาขาวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบันทั้งหมด 11 สาขาวิชา ได้แก่ 

     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         1. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ 

         2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 

         3. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

         4. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน 

         5. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 

         6. สาขาวิชานิติศาสตร์ 

คณะวิทยาการจัดการ

         7. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 

         8. สาขาวิชาการตลาด 

         9. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 

         10. สาขาวิชาการบัญชี 

         11.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)

การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการจัดการศึกษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว และมีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี มาเรียนต่อยอด เป็นทางเลือกให้ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบ หรือผู้ที่มีภาระการทำงานแล้ว ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

2. NPRU Online Courses

          มหาวิทยาลัยมีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. หลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ

          คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุภายใต้การดูแลแบบพึ่งตนเองและลดภาวะการพึ่งพาผู้อื่นตามศักยภาพที่ลดลงในระยะยาว จึงพัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นใช้เวลาเรียน 420 ชั่วโมง (3 เดือน) เพื่อพัฒนาส่งเสริมผู้ดูแลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง จนผู้อบรมมีความรู้และสามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อสร้างสังคมกตัญญูทดแทนคุณผู้สูงอายุสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีตราบจนวาระท้ายแห่งชีวิต โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนี้

          เพื่อให้ผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ

          1. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในครอบครัว ชุมชน และสถานบริการสุขภาพได้

          2. มีเจตคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ มีจิตบริการ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

          3. สามารถประสานงานกับบุคคล และหน่วยงาน เพื่อขอความช่วยเหลือด้านการดูแลผู้สูงอายุ

          4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ มีระเบียบวินัย และซื่อสัตย์ 

          5. มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในสิทธิของผู้สูงอายุและบุคคล

 

4. โครงการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์   1) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน 2) เพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ 3) เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับศิษย์เก่า และ 4) เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โดยโครงการดังกล่าว จัดขึ้นในวันที่ 13-14 สิงหาคม 2565 ณ อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย และวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ณ อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งภายใต้โครงการมีกิจกรรมอบรม   ต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อสอบอิงฐานสมรรถนะ การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และการสร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพผู้เรียนอิงหลักสูตรฐานสมรรถนะ

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ ผลการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 94.60 บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

 

กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

  

 

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษา

 

กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อสอบอิงฐานสมรรถนะ

 

9. การศึกษาสำหรับ SDGs: หลักสูตรเฉพาะด้านความยั่งยืน

ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีหลักสูตรที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 67 หลักสูตร ประกอบด้วย ปริญญาเอก 3 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาตรี 56 หลักสูตร ประกาศนียบัตร 1 หลักสูตร โดยมีรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 2,113 รายวิชา มีรายวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมด 385 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 18.22

10. บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อร่วมทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิต พัฒนางานวิชาการและงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อให้มีการริเริ่มและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน  การบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสรุปได้ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมประชุมกับศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

          ตามที่มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  ทาง SDSN THAILAND ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ประจำปี 2565 และร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานในปัจจุบันของสมาชิกแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งร่วมปรึกษาหารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายฯ ในวันที่ 19 พฤกษาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Online

 

2. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 รูปแบบออนไลน์

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World” ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย นำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ : กรณีศึกษา การผลิต และพัฒนากำลังคนรองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corrider: EEC) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้กับประธานสาขาวิชาหรือตัวแทนสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รายละเอียดเพิ่มเติม

11. การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการวิจัย     

1. การส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา
          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทางการแพทย์ ไอสยาม ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชน ในการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายได้ ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นฝ่ายสนับสนุนให้มีการพัฒนาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาในชุมชน และสถานศึกษา ทั้งนี้ฝ่ายวิสาหกิจชุมชนจะเป็นฝ่ายสนับสนุนทางด้านวิทยากร บรรยายความรู้ และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกัญชา รวมถึงด้านวัตถุดิบสำหรับใช้ในการพัฒนางานวิจัย รายละเอียดเพิ่มเติม

 

2. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย Flagship ประจำปี 2565

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย Flagship ประจำปี 2565 และจาก กองทุนส่งเสริม ววน. ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 3) รูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (Full Proposal) ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ผ่านกระบวนการให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้านของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ได้มีการบรรยายเรื่อง "การบริหารจัดการขอทุนอุดหนุนการวิจัย Basic Research Fund ประจำปีงบประมาณ 2566" รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3. การเข้าร่วมงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2565 (Thailand Research Expo 2022

รศ.ดร.จักรพงษ์ แก้วขาว นำทีมนักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากศูนย์วิจัยแห่งความเป็นเลิศทางด้านแก้วและวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “The United Nations International Year of Glass 2022” ซึ่งได้รวบรวมผลงานวิจัยทางด้านแก้วในหัวข้อต่างๆ จุดประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำมาพัฒนาและปรับปรุงงานวิจัยให้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม

 

4. การบรรยายในหัวข้อ Glass Scintillator from Ln3+ Doping and Recent Development

          รศ. ดร. จักรพงษ์ แก้วขาว ได้รับเชิญให้เป็น invited speaker บรรยายในหัวข้อ Glass Scintillator from Ln3+ Doping and Recent Development รวมไปถึง รศ. ดร .ภัทรวจี ยะสะกะ ผศ. ดร. ปิยะชาติ มีจิตรไพศาล ผศ.ดร.วุฒิชัย ไชยภักษา และ นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จาก Center of Excellence in Glass Technology and Materials Science (CEGM), NPRU สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในงาน The 4th International Conference on Radiation and Emission in Materials (ICREM) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 เมษายน 2565 ณ โรงแรม Pullman พัทยา ชลบุรี

12. การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.2.4 การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  

          มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม

 

2. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking 

                    มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมการจัดอันดับ Times Higher Education Impact Ranking ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking โดยให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะทำงานดังกล่าวฯ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการรายงานการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

3. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 

มหาวิทยาลัยจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย  โดยอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประชุมเพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  รายละเอียดเพิ่มเติม

13. รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.4.1 ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนักศึกษาทุกคน ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของการดำเนินชีวิตให้มีความยั่งยืน ดังนี้

1. รายวิชาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการปลูกผัก และรายงานผลจากการศึกษาจากภาคปฏิบัติ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล และครอบครัว

2. รายวิชาจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาทำโครงการจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น เช่น โครงการการพัฒนาห้องน้ำ ณ ที่สาธารณะให้น่าใช้ การเก็บขยะเงินล้าน เนรมิตชุมชนให้แสนสะอาด ปันน้ำใจช่วยสุนัขและแมวที่วัดดอนยายหอม

รายละเอียดเพิ่มเติม

14. การศึกษาสำหรับ SDGs: หลักสูตรเฉพาะด้านความยั่งยืน

ตัวชี้วัดย่อย 17.4.2 การศึกษาสำหรับ SDGs: หลักสูตรเฉพาะด้านความยั่งยืน

ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีหลักสูตรที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 67 หลักสูตร

ประกอบด้วย ปริญญาเอก 3 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาตรี 56 หลักสูตร ประกาศนียบัตร 1 หลักสูตร

โดยมีรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 2,113 รายวิชา มีรายวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมด 385 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 18.22

15. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา คณาจารย์ งานวิจัย เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ทำงานร่วมกันระหว่างประเทศกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ อาทิ สถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถาบันอุดมศึกษาในไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

          1. FPT University

          2. Hanoi University of Natural Resources and Environment

          3. Hanoi University

          4. Binh Duong University

          5. Ton Doc Thang University

          6. Can Tho University

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

          1. Souphanouvong University

          2. National University of Laos

          3. Luangprabang Teacher Training College

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

          1. Kyause University

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

          1. Rizal Technological University

          2. Colegio De San Juan De Letran Calamba

          3. St. Mary's College Quezon City

          4. Laguna University

ประเทศมาเลเซีย

          1. Universiti Malaysia Perlis

          2. University of Malaya

          3. Universiti Utara Malaysia

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

          4. Atma Jaya Catholic University of Indonesia

          5. Ahmad Dahlan University

สาธารณรัฐประชาชนจีน

          6. Yunnan Normal University

          7. Shiyuan College of Guangxi Teachers Education University

          8. Guangxi Teachers Education University

          9. Beibu Gulf University

          10. Nanning College for Vocational Technology

          11. Southwest Forestry University

          12. Beijing Language and Culture University

          13. Kunming University

สาธารณรัฐจีน

          1. Hungkuang University

          2. National Chin-Yi University of Technology

สหรัฐอเมริกา

          1. California State University, San Bernardino

ประเทศเยอรมนี

          1. Technical University of Braunschweig
          2. Leichtweiss Institute for Hydraulic Engineering and Water Resources

          University Kassel Faculty of Civil Engineering

ประเทศออสเตรเลีย

          1. Edith Cowan University

          2. TAFE Queenland

          3. The University of Queensland

สหราชอาณาจักร

          1. Coventry University

          2. University of Essex