1. โครงการการติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน SDG ในมหาวิทยาลัยในไทยเชิงพื้นที่จำนวน 35 มหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วม Thailand University SDG Progress Tracker โครงการการติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน SDG ในมหาวิทยาลัยในไทยเชิงพื้นที่จำนวน 35 มหาวิทยาลัย ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สนับสนุนมหาวิทยาลัยในไทยในการเข้าร่วมการจัดอันดับ THE Impact Rankings
2. สร้างความเข้าใจ และสนับสนุนในการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในไทยเพื่อ พัฒนาบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs ผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และ การบริการสังคม
3. สนับสนุนมหาวิทยาลัยในไทยในการขยายแนวทางการดำเนินงานเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs รวมถึงทิศทางการพัฒนาระดับภูมิภาค ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs Times Higher Education
2. THE 1st Academic seminar on sustainable relations within the Rajabhat University Network 2021
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ THE 1st Academic seminar on sustainable relations within the Rajabhat University Network 2021 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
3. ประชุมวิชาการสภาการพยาบาลสัญจร
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดประชุมวิชาการสภาการพยาบาลสัญจร ประจำปี 2563 “สภาการพยาบาลกับการคุ้มครองประชาชน” ระหว่างวันที่ 5 – 6 ตุลาคม 2563 โดยมี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก บัวเจริญ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ และ รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล กรรมการสภาการพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพ 8 จังหวัด เข้าร่วมประชุม
4. Thai TESOL Extensive Reading Webinar#3: Implementing Online Extensive Reading in Thailand
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาจารย์พศิกา ธารณธรรม (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) อาจารย์พิมพ์นิพร สดคมขำ (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) อาจารย์ ดร.มินตรา ภูริปัญญวานิช (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ Mr. Paul Goldberg (Xreading) ร่วมกับสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย (Thailand TESOL) เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ Implementing Online Extensive Reading in Thailand ในวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น. โดยบรรยายให้กับนักศึกษา บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถเข้ารับฟังออนไลน์ (webinar)
5. THE 2021 NATIONAL RGJ AND RRI CONFERENCES การประชุมวิชาการระดับชาติ ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปี 2564
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นางสาวเยาวลักษณ์ ทาริวงศ์, นายวสุ ชีวสุขานนท์, นางสาวเบญจภรณ์ ดำดี และนายศุภกิตติ์ ยลพันธ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เข้าร่วมงาน THE 2021 NATIONAL RGJ AND RRI CONFERENCES การประชุมวิชาการระดับชาติ ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปี 2564
6. ประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก “โครงการวิศวกรสังคม (Social Engineer)”
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นประธานในการประชุมหารือขยายผลโครงการวิศวกรสังคม (Social Engineer) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาประเทศ" ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนา และแก้ไข ปัญหาที่เกี่ยวกับชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยการสร้างให้นักศึกษาเป็นนักคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีเหตุและผล โดยยึดหลักคุณลักษณะ 4 ประการ ตามพระราโชบาย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเพื่อทำงานร่วมกันของ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก
7. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 หัวข้อ "การวิจัย สร้างดุลยภาพชีวิตเพื่อรองรับ New Normal"
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพหลักกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สมาคมสหวิทยาการเพื่อการวิจัย คณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาแห่งราชบัณฑิตยสภา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานเจ้าภาพ กระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โรงพยาบาลนครปฐม วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “การวิจัย สร้างดุลยภาพชีวิตเพื่อรองรับ New Normal” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ในรูปแบบของภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ ซึ่งมีการนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัย อันจะนำไปสู่แนวคิด และเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านวิจัยในระดับชาติ
8. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 100 ปีการฝึกหัดครูไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 29 กันยายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และงานการจัดการศึกษาให้กับบุคลากร นักศึกษา
9. การบรรยาย "ภารกิจ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, การปลูกฝังอุดมการณ์ความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา และคุณธรรมจริยธรรม, การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้สืบสานศาสตร์พระราชา ในแนวทางสืบสาน รักษา และต่อยอดศาสตร์พระราชา กับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข"
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ร่วมให้การต้อนรับพันเอกอภิสิทธิ์ วงศ์บัวแก้ว รองผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยา ความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้นำคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สจว.สพฐ.) รุ่นที่ 8 โครงการโรงเรียนสุจริต จำนวน 98 คน พร้อมกันนี้ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดี ได้ให้เกียรติบรรยายสรุปในหัวข้อ ภารกิจ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, การปลูกฝังอุดมการณ์ความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา และคุณธรรมจริยธรรม, การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้สืบสานศาสตร์พระราชา ในแนวทางสืบสาน รักษา และต่อยอดศาสตร์พระราชา กับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข พร้อมกับได้นำชมศูนย์การเรียนรู้สืบสานศาสตร์พระราชา และร่วมกันปลูกต้นไม้ในบริเวณดังกล่าว
10. กิจกรรมการจัดทำสนทนากลุ่มแบบเจาะลึก (depth discussions) ระหว่างมหาวิทยาลัย กับ Times Higher Education
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.3 การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำสนทนากลุ่มแบบเจาะลึก (depth discussions) ระหว่างมหาวิทยาลัย กับ Times Higher Education ภายใต้ระยะที่ 2 ของ Thailand University SDG Progress Tracker รูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โดยกิจกรรมดังกล่าว สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดขึ้นเพื่อสำรวจและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่สอดคล้องกับความยั่งยืน และหรือเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยมหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลและพูดคุยกับตัวแทนของ Times Higher Education ตามข้อคำถามต่างๆ ดังนี้
1. สำรวจประเด็นด้านยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และการดำเนินงานโครงการกิจกรรมของ มหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับความยั่งยืน และหรือเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) การให้ลำดับความสำคัญของ การพัฒนาตามเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตามความเข็มแข็งของมหาวิทยาลัย ผ่าน 4 บทบาทหลักคือ กระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การปฏิบัติการและการกำกับดูแล และการบริการสังคม และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน หรือ SDGs
2. สำรวจแนวทางในการดำเนินงานของโครงการกิจกรรม ผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การปฏิบัติการและการกำกับดูแล และการบริการสังคมที่สอดคล้องต่อเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ทั้งในระดับ มหาวิทยาลัย และหรือระดับภูมิภาคท้องถิ่น
3. สำรวจความต้องการการสนับสนุนเพิ่มผลกระทบของโครงการกิจกรรมด้านความยั่งยืน อาทิ เช่น การสนับสนุนด้านทรัพยากร ความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ หรือด้านอื่นๆ เป็นต้น การสนับสนุนการขยายขอบเขตการ ดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และการสนับสนุนการเข้าร่วมส่งข้อมูล เพื่อการจัดอันดับ THE Impact Rankings
11. การประชุมสัมมนา Impact Ranking Participation Masterclass
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.3 การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมการประชุมสัมมนา Impact Ranking Participation Masterclass ซึ่งทาง Times Higher Education ได้จัดให้กับมหาวิทยาลัยทั้ง 35 แห่งในโครงการ เพื่อให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อการเข้าร่วมการจัดอัดดับ THE Impact Rankings 2022 โดยมีหัวข้อของกิจกรรมดังต่อไปนี้
• Introduction and recap of rankings methodology
• New entrants' performance to the Ranking
- Number of increasing university participation
- Number of SDGs per institution
- Overall Ranking: New entrants
- New entrants by SDG
• Data submission and Portal walk-through
• Examples of evidence and metrics in alignment with SDGs
• FAQs
• Q&A
12. โครงการประชุมแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับ Dalian University of Foreign Languages สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.3 การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วยรองอธิการบดี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา และคณาจารย์ ได้ประชุมผ่านระบบออนไลน์กับ Prof. JIANG Fengchun, Vice President of Dalian University of Foreign Languages และคณะ โดยเป็นการเจรจาเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางการศึกษา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัย และการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ Dalian University of Foreign Languages สาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 27 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
13. กิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอินโดนีเซีย-ไทย
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.3 การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Mr. Rachmat Budiman. (Ambassador of The Republic of Indonesia) เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยและคณะ จำนวน 11 คน เนื่องในพิธีเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอินโดนีเซีย-ไทย เนื่องในวาระ ครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Zoom โดยมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดสดผ่านออนไลน์ ณ ห้องประชุม 3/2 อาคารสิริวรปัญญา โดยมีกิจกรรมสำคัญประกอบด้วย การแนะนำประเทศและวัฒนธรรม การใช้ภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้น การวาดลวดลายผ้าบาติก และการแข่งขันตอบคำถามเกี่ยวกับประเทศและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย เพื่อรับรางวัลของที่ระลึก นอกจากนี้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำเสนอการแสดงชุดระบำไตรรัตน์ โดยนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์มาจัดแสดงเป็นพิเศษ เนื่องในวันวิสาขบูชา เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในครั้งนี้ด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นอาจารย์ นักศึกษา และนักเรียนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปจำนวน 100 คน
14. การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.4 การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในวันที่ 23 เมษายน 2564 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โดยการประชุมในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยรองอธิการบดีและตัวแทนผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking: SDG1 ขจัดความยากจน (no poverty) และ SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ดี (good health and well-being), รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking: SDG4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality education), รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking: SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (partnerships for the qoals)
15. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมกับสภากาชาดไทย จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ร่วมกับสภากาชาดไทย ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 4 จังหวัดราชบุรี จัดหาโลหิตไปรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ ที่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง ณ อาคารกิจการ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมบริจาคโลหิต
16. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนในชนบท
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับกลุ่มนักศึกษาจิตอาสา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนในชนบท โดยร่วมกันเป็นจิดอาสาในการพัฒนาโรงเรียนไทรโยคใหญ่ ตำบลไทรโยคใหญ่ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2563
17. การพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษา
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน