1. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม การบริหารจัดการงานดำเนินงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุงการพัฒนานโยบาย กลยุทธ์ต่าง ๆ ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการต่างๆ ดังนี้
1. สถาบันวิชชาจารย์สุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เปิดสถาบันวิชชาจารย์สุขภาพเพื่อผู้สูงอายุขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ และเพื่อดูแลผู้สูงอายุสู่การสร้างสังคมแห่งความสุข โดยเป็นสถาบันเพื่อการเรียนรู้และการแบ่งปันร่วมกันออกแบบและจัดบริการสุขภาพ ได้แก่ 1. ให้บริการ ดูแลสุขภาพและการวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และชะลอความเสื่อมสำหรับผู้ที่กำลังจะเกษียณ ผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและเพิ่มคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงอายุ 2. ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและคำแนะนำการมีสุขภาพที่ดี ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3. จัดหาบริการดูแลผู้สูงอายุภายใต้การดูแลของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพแบบครบวงจร 4. ร่วมกันฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอบรมหลักสูตรบริการวิชาการตามศาสตร์การดูแลสุขภาพ ศาสตร์การป้องกันและชะลอความเสื่อม ศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุ แก่ผู้ที่กำลังเกษียณ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ และ 5. พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสำหรับการวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และชะลอ ความเสื่อมสำหรับผู้ที่กำลังจะเกษียณ ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ รายละเอียดเพิ่มเติม
2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปีการศึกษา 2564-2568
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปีการศึกษา 2564-2568 เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ 7 แห่ง ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ บนพื้นฐานความเสมอภาคและพึ่งพาซึ่งกันและกันในด้านวิชาการ งานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการพัฒนา สมรรถนะ และยกระดับสมรรถนะทางวิชาชีพการพยาบาล งานประกันคุณภาพการศึกษา งานทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม งานกิจการนักศึกษา งานวิเทศสัมพันธ์ และงานอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกัน รายละเอียดเพิ่มเติม
3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดโครงการฉีดวัคซีนไซเบอร์เสริมภูมิสถานศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดโครงการ ฉีดวั ค ซีนไซเบอร์เสริมภูมิสถานศึกษา โดยมีคณะวิทยากรจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดย พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรฉิมพลี จนท.ชุดปฏิบัติการ 1 ศูนย์ปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ “รู้ทันกลลวงต่าง ๆ บนโลก ไซเบอร์ และเทคนิคการป้องกัน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมปิ่นเกลียว อาคารศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์และหอประชุม รายละเอียดเพิ่มเติม
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)”
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” เรื่อง “Co-Creation รวมพลังงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพื้นที่และท้องถิ่น” และร่วมเป็น สักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “วิศวกรสังคมสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 27 แห่ง พร้อมกับได้ร่วมรับฟังการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “คุณภาพชีวิตและสังคมท้องถิ่นไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อน และผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชน รายละเอียดเพิ่มเติม
5. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 สำหรับพิธีลงนามฯ ดังกล่าว สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบประชารัฐระหว่าง ราชการส่วนภูมิภาค คือ พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด ภาควิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กหรือ SMEs เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริโภค และเพื่อสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยผ่านการจัดนิทรรศการหรือ Digital Market Platform ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้มีการเชื่อมต่อตาม หลักการ University as a Marketplace รายละเอียดเพิ่มเติม
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับทำโครงการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ (ฉบับที่ 43)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประกาศให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่รับทำโครงการการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ
รายละเอียดเพิ่มเติม 1
รายละเอียดเพิ่มเติม 2
2. บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อร่วมทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิต พัฒนางานวิชาการและงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อให้มีการริเริ่มและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสรุปได้ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมประชุมกับศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตามที่มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) ทาง SDSN THAILAND ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ประจำปี 2565 และร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานในปัจจุบันของสมาชิกแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งร่วมปรึกษาหารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายฯ ในวันที่ 19 พฤกษาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Online
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 รูปแบบออนไลน์
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World” ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย นำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศฯ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ : กรณีศึกษา การผลิต และพัฒนากำลังคนรองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corrider: EEC) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้กับประธานสาขาวิชาหรือตัวแทนสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รายละเอียดเพิ่มเติม
3. การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.3 การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา คณาจารย์ งานวิจัย เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ทำงานร่วมกันระหว่างประเทศกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ อาทิ สถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถาบันอุดมศึกษาในไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อ
1. สนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์และบุคลากรต่าง ๆ
2. ส่งเสริมการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
3. พัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย
4. สร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย
5. สนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรด้านการเรียนการสอนภาษาไทย
6. ร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมทางด้านโครงการการศึกษา การประชุมสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น
7. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านทรัพยากรและวัสดุการเรียนการสอนตามที่ต้องการ
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ Beibu Gulf University สาธารณรัฐประชาชนจีน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับมหาวิทยาลัย Beibu Gulf สาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2565 ถึง ปีการศึกษา 2567 รายละเอียดเพิ่มเติม
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมประชุมสร้างแนวทางเตรียม MOU กับ Yunnan Normal University สาธารณรัฐประชาชนจีน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์กับ Yunnan Normal University สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย Mr. Xiucheng Wang คณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีนและคณะ เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ล้านช้าง-ลุ่มน้ำโขง พันธมิตรการศึกษาจีน แลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติม
4. การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.4 การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)
มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking
มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมการจัดอันดับ Times Higher Education Impact Ranking ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking โดยให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะทำงานดังกล่าวฯ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการรายงานการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2564
มหาวิทยาลัยจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย วันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประชุมเพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม
5. การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (โครงการนักศึกษาจิตอาสา)
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการนักศึกษาจิตอาสา
1. โครงการนักวิทย์จิตอาสา