1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น
ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนเกษตรปลอดภัย บ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนเกษตรปลอดภัย บ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัยตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงดินด้วยวัสดุเกษตรเหลือทิ้งในท้องถิ่น
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
มหาวิทยาลัยได้จัดการบรรยายและปฏิบัติการวางแผนการปลูกพืช การเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อผลิตผักปลอดภัยในระดับครัวเรือน การจัดการดิน การปรับปรุงสภาพดินก่อนปลูกพืช การถ่ายทอดความรู้ในการผลิตผักปลอดภัยอย่างครบวงจรให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้นำนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชไปร่วมเรียนรู้และร่วมปฏิบัติการกับครัวเรือนในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการบูรณาการพันธกิจด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ร่วมกับการบริการวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.1 การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพระบบการผลิตให้กับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัยอย่างยั่งยืน
1.2 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน
1.3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการเศษใบอ้อยในไร่อ้อยด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายใบอ้อย
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและยกระดับระบบการผลิตการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างข้างบ้านในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน
2. ครัวเรือนที่เข้ารับการพัฒนา มีรายได้ที่มั่นคง ต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ ร้อยละ 30 จำนวน 10 ครัวเรือน และสามารถลดรายจ่ายในการซื้อหาค่าอาหารประจำวัน จากการมีแหล่งอาหารที่ผลิตได้เอง จำนวน 55 ครัวเรือน
3. ลดพื้นที่การเผาไร่อ้อยในชุมชนลงไม่น้อยกว่า 200 ไร่
4. ชุมชนได้ขยายผลการดำเนินการโดยการบูรณาการความรู้ที่ได้จากการพัฒนา
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับสาขาวิชา 4 สาขาวิชาในมหาวิทยาลัย ได้ แก่ 1.สาขาการบริการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ 2.สาขานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง 3.สาขาศิลปศึกษา 4.สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในรูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
1. ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
2. พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนด้านการจัดการตลาดวิถีใหม่ เช่น การพัฒนาเมนูอาหารท้องถิ่นจาก วัตถุดิบในท้องถิ่น การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การจัดศิลปะการแสดงวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชนเพื่อการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) การสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์
3. พัฒนารูปแบบการจัดการตลาดวิถีใหม่โดยชุมชน
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการตลาดวีถีใหม่ มีการวางแผนทำการตลาดเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของทางชุมชนมาเปิดร้านขายในพื้นที่ตลาดนัดชุมชน และเพิ่มช่องทางทางในการขายผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของทางชุมชนห้วยม่วง ทำให้ทางชุมชนสามารถมียอดขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. จากการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนห้วยม่วงด้วยการอบรมการตลาดวิถีใหม่ ทำให้ทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารประจำถิ่น เพื่อใช้ในการให้บริการจัดเลี้ยงในการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) และการให้บริการนักท่องเที่ยว และคนในชุมชน ซึ่งทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารได้ทั้งหมด 10 เมนู ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชาวลาวครั่งที่ได้จากการพัฒนาต่อยอดให้มีสีสันหลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว ชุดการแสดงชุมชนที่เป็นการแสดงสำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยว 2 ชุดการแสดง
3. ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการไปต่อยอดในการจัดตลาดโดยการออกร้านที่เป็นร้านของทางชุมชนห้วยม่วงร่วมกับตลาดนัดที่มีขึ้นในชุมชนทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และในรูปแบบออนไลน์ และในระยะถัดไปทางชุมชนห้วยม่วงได้วางแผนในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้คนมาเที่ยวในชุมชนโดยการเตรียมจัดโครงการวิ่งมาราธอนกุ้งซิ่งที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางในการท่องเที่ยวโดยชุมชนและทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
4. ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย