ผลการดำเนินงาน ปี 2023
SDG3 : Good Health and Well-being

1. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับโรงพยาบาลนครปฐม จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลนครปฐม (คลินิกหมอครอบครัว) ภายในมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557  เป็นการให้บริการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาแก่นักศึกษา บุคลากร และประชนทั่วไปโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.00 – 16.00 น. ทั้งในและนอกสถานบริการ พร้อมทั้งมีการให้คำปรึกษาด้านรักษาพยาบาล ให้คำปรึกษาด้านวัยรุ่น ปัญหาทางเพศ สุขภาพจิต ด้านโภชนาการ และการดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งบริการส่งต่อสู่โรงพยาบาลในกรณีทีเกินศักยภาพ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไปมีสุขภาพกายที่ดี เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป 

    

2. จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2564

ตัวชี้วัดที่ 3.2  จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาด้านวิชาชีพด้านสุขภาพ

จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา    

ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 3,523 คน จำแนกตามคณะ และระดับการศึกษาดังนี้

 

3. จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพด้านสุขภาพ ปีการศึกษา 2564

ตัวชี้วัดที่ 3.2  จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาด้านวิชาชีพด้านสุขภาพ

จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพด้านสุขภาพ  

ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพด้านสุขภาพ

จำนวน 200 คน มีรายละเอียดดังนี้

4. ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

 

1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ระดับท้องถิ่น

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับท้องถิ่น ได้แก่ Nong Din Daeng Tambon Health Promoting Hospital,  Thung Khwan Health Promoting Hospital and Tambon Phong Maduea TamBon Health Promoting Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล  รายละเอียดเพิ่มเติม

          ระดับประเทศ

                    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับประเทศ ได้แก่ Nakhonpathom Hospital, Ratchaburi Hospital, Banphaeo General Hospital, Thammasat University  Hospital, Banpong Hospital, Photharam Hospital, Srithanya Hospital, Makarak Hospital, Hospital and Makarak Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล

                 ระดับนานาชาติ

                   มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับ Hungkuang University ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาพยาบาล

5. ประชุมสัมมนาร่วมกับ สสส. และเครือข่าย จัดสัมมนาทางวิชาการ (นานาชาติ) ครั้งที่ 2

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์จัดโครงการ ประชุมสัมมนาร่วมกับ สสส. และเครือข่าย จัดสัมมนาทางวิชาการ (นานาชาติ) ครั้งที่ 2 “Moving Towards a Smoke Free Brain & Mental Balance: Clinical and community level interventions in the next normal”

 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เข้าร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ (นานาชาติ) ครั้งที่ 2 “Moving Towards a Smoke-Free Brain & Mental Balance: clinical and community level interventions in the next normal” โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หทัยชนก บัวเจริญ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นผู้กล่าวเปิดโครงการ ซึ่งโครงการ จัด วันที่ 16 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00 น. – 17.00 น. ผ่านระบบระบบออนไลน์ Zoom Meetin จัดโดยเครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทยร่วมกับชมรมนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ร่วมกันระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชระบบระบบออนไลน์ Zoom Meeting

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ผู้ร่วมโครงการทั้งสิ้น  367 คน

Link ที่เกี่ยวข้อง

6. จัดทำข้อตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

จัดทำข้อตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา

วันที่ 26 มิถุนายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ ชนะสิทธิ์ รองอธิการบดี และทีมคณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมนำโดย รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.สุพจน์ เฮงพระพรหม และผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล ร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทางการแพทย์ ไอสยาม โดยนายณัฏฐวุฒิ เอี่ยมอินทร์ ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชน ในการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายได้ ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นฝ่ายสนับสนุนให้มีการพัฒนาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาในชุมชน และสถานศึกษา ทั้งนี้ฝ่ายวิสาหกิจชุมชนจะเป็นฝ่ายสนับสนุนทางด้านวิทยากร บรรยายความรู้ และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกัญชา รวมถึงด้านวัตถุดิบสำหรับใช้ในการพัฒนางานวิจัย ทั้งนี้ได้ลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ ฟาร์มกัญชาวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทางการแพทย์ ไอสยาม อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีท่านสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานในการลงนามตามข้อตกลงดังกล่าว รายละเอียดเพิ่มเติม

 

7. โครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย รูปแบบออนไลน์

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย รูปแบบออนไลน์

 

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย รูปแบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ มีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 70 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 25 - 27 ธันวาคม 2564 ณ สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ร้อยละ 91.12 ซึ่งบรรลุเป้าหมาย

2. นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ ร้อยละ 90.22 ซึ่งบรรลุเป้าหมาย

3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อโครงการฯ ร้อยละ 90.52

 

 

8. โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

          คณะพยาบาลศาสตร์ดำเนินโครงการร่วมกับโรงพยาบาลนครปฐม สสอ.เมืองจังหวัดนครปฐม ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และประชาชนทั่วไป ดำเนินโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีคณาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และนางพวงพันธ์ วุฒิยาสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลนครปฐม และนางสาวพัชรจริยา  ดำเรืองศรี เป็นวิทยากรให้ความรู้ทางด้านการดูแลโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และกิจกรรมพระพุทธศาสนา  พร้อมการจัดกิจกรรมสันทนาการฝึกสมอง และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหาของโรคในผู้สูงอายุ ณ ห้องเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ชั้น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านซ่องทาง Facebook

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

มีความพึ่งพอใจอยู่ในระดับดีมาก

Link ที่เกี่ยวข้อง

 

9. โครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

          วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วริยา จันทร์ขำ รองคณบดีคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์เรียม นมรักษ์อาจารย์กิติกร พรมา จัดโครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทานจำนวน 40 คน  ณ โรงเรียนวัดศรีวิสารวาจา จังหวัดนครปฐม

รายละเอียดเพิ่มเติม

10. โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

คณะพยาบาลศาสตร์ ออกให้บริการวิชาการ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ  ในวันที่ 27 มกราคม 2566 โดยให้นักเรียน โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม  เข้าร่วมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1% หญิง 42.9 % ทำ pre-test ก่อนบรรยายเพื่อทดสอบความรู้ และมีอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเนื้อความความรู้ต่างๆและได้สอนขั้นตอนการทา CPR อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลมีการสาธิตให้ดูก่อน ระหว่างบรรยายได้มีการให้เด็กนักเรียนตอบคาถามเพื่อให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมหลังจากบรรยายเสร็จได้มีการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทา CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน ให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติโดยจะมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนาและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนต่างให้ความสนใจและร่วมมือในการฝึกปฏิบัติอย่างดี หลังจากได้ฝึก CPR ครบทุกคน ได้มีการให้สมาชิกในกลุ่มคัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มไปแข่งการทา CPR มีการแจกของรางวัลให้กับเด็กนักเรียนที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จได้มีการให้เด็กนักเรียนทา post-test เพื่อประเมินความรู้หลังได้ปฏิบัติ

 

วัตถุประสงค์ของการออกบริการวิชาการ

  1. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมมีความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ป่วย   

ผู้หมดสติ

  1. เพื่อให้คำแนะนำแก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมในการดุแลการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

กิจกรรมการออกบริการวิชาการ

          1. บรรยาย เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

          2. ฝึกปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทำ CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน โดยให้ทุกคนได้ทดฝึกปฏิบัติและมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1 หญิง ร้อยละ 42.9  มีความรู้เพิ่มขึ้นเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจากการทำแบบสอบถาม pre-test  ก่อนให้ความรู้ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 9.54 (SD 1.75)  หลังให้ความรู้ post-test คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 10.81 (SD 1.99)

          2. นักเรียนที่เข้ารับการร่วมกิจกรรมครั้งนี้มีความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.76 (SD 0.98) ในการเข้าอบรมครั้งนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

 

11. โครงการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี

วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2566 คณะพยาบาลศาสตร์  ดำเนินกิจกรรมบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี โดนมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้อบรมได้กิจกรรมและมีบทบาททางสังคมได้นานที่สุดตามทฤษฎีการมีกิจกรรม และส่งเสริมให้ผู้อบรมมีวิธีการปรับตัวแบบเดิมให้คงไว้ซึ่งบุคลิกภาพเดิมมากที่สุด โดยจะทำกิจกรรมเท่าที่ทำได้ให้ได้มากและนานที่สุดตามทฤษฎีความต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมาย ผู้อบรมสถาบันวิชชาจารย์เพื่อสุขภาพผู้สูงอายจำนวน 16 คน ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและผู้สูงอายุที่องค์การบริหารส่วนตำบล      ท่างาม อำเภออินบุรีย์ จังหวัดสิงห์บุรี ร้อยละ 100  ผู้อบรมมีความพึงพอใจและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.51) ซี่งทั้งหมดได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้านอาชีพ การออกกำลังกายตามวัย และการผ่อนคลายจิตใจ รวมถึงกิจกรรมสันทนาการเพื่อคลายเครียด และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในวัยเกษียณ และให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

เชิงปริมาณ

          1. ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและผู้สูงอายุที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินบุรีย์ จังหวัดสิงห์บุรี ร้อยละ 100

          2. ผู้อบรมมีความพึงพอใจและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.70)

          เชิงคุณภาพ

          1. ผู้อบรมรู้สึกประทับใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

          2. ผู้อบรมได้รับความสนุกสนาน การผ่อนคลาย และได้พูดคุยกับบุคคลอื่น ทำให้ได้รักษาการทำหน้าที่ของตนเอง และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง

          ข้อคิดเห็นอื่นๆ

1. รู้สึกประทับใจตั้งแต่การดูแลติดตามการเข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ และการดูแลของน้องๆนักศึกษา ฝากขอบคุณท่านอธิการบดี ท่านคณบดี คณาจารย์และนักศึกษาที่ดูแลพามาได้เห็นการพัฒนาผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ (11 คน)

2. ได้เรียนรู้ถึงชุมชนเข้มแข็ง การมีผู้นำที่เข้มแข็งการรัก สามัคคีกันในชุมชน การใช้ประโยชน์จากผู้มีความรู้ในชุมชนมาทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

3. ได้เรียนรู้การแปรรูปกล้วย การออกกำลังกาย การใช้สมุนไพรต่างๆมาดูแลสุขภาพ

4. ได้รับความสนุกสนาน การผ่อนคลาย ได้เพื่อพูดคุย ได้เห็นชีวิตผู้อื่น สังคมอื่นที่แตกต่างจากที่เราดำรงชีวิตอยู่ประจำ

          5. อยากนำไปพัฒนาชุมชนที่ตนเองอยู่จะนำไปเล่าสู้ผู้นำในชุมชนดู

          6. นำความรู้ไปแปรรูปกล้วยที่บ้าน นำไปพัฒนาการทำกล้วยกวนให้อร่อยยิ่งๆขึ้น

          7. นำความรู้ไปปลูกพืชสมุนไพรในบ้านนำไปใช้ในชีวิต

          8. นักศึกษาดูแลดี คอยสอบถาม และชวนพูดคุย บางครั้งให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ คอยดูแลไม่ให้หิ้วของหนัก และดูแลระวังไม่ให้หกล้ม

 

          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป

          ทุกอย่างดีมากๆ ขอบคุณมากๆและควรมีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ และควรมีกิจกรรมพาผู้สูงอายุไปดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงใกล้ๆมหาวิทยาลัยเพื่อการเรียนรู้ดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สู่การปฏิบัติต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

12. สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่ใช้ร่วมกัน

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.3 สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่ใช้ร่วมกัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมี Sport Complex ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ฟิตเนส สนามบาสเกตบอล สนามแบดมินตัน สนามวอลเลย์บอล พร้อมทั้งมีสนามฟุตบอล และทางวิ่งหรือเดินออกกำลังกายรอบสระมรกต ใช้สำหรับเป็นสถานที่ออกกำลังกายของนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปรอบมหาวิทยาลัยมาใช้บริการฟรี นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมยังให้บริการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกระบี่กระบองชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เฉลิมพระเกียรติ ร.10 ของสมาคมกีฬาไทย เป็นต้น

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมยังมีสระว่ายน้ำที่ทันสมัยให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป โดยมีการเก็บค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาสระว่ายน้ำให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

13. การดูแลสุขภาพหรือให้คำปรึกษาทางเพศฟรีสำหรับนักศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.4 การดูแลสุขภาพหรือให้คำปรึกษาทางเพศฟรีสำหรับนักศึกษา

คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับกองพัฒนานักศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และโรงพยาบาลนครปฐมให้บริการสายด่วนให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังรับปรึกษาปัญหาชีวิตด้านต่าง ๆ แบบออนไลน์ และมีห้องให้คำปรึกษาที่จัดตั้งในคณะพยาบาลศาสตร์ ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งคลินิกวัยใส อนามัยวัยรุ่น ให้บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางเพศ การเรียน และการคุมกำเนิด โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์คอยให้คำปรึกษาทุกวัน

14. คลินิก Happy Life บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.5 การดูแลด้านสุขภาพจิต

คลินิก Happy Life บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับ กองพัฒนานักศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ โรงพยาบาลนครปฐม เปิดให้บริการคลินิก HAPPY LIFE ให้บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และนัดหมายพบแพทย์ ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จากโรงพยาบาลนครปฐม โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้คำปรึกษาทุกวัน นอกจากนั้นยังรับปรึกษาปัญหาชีวิตด้านต่าง ๆ แบบออนไลน์ และมีห้องให้คำปรึกษาที่จัดตั้งในคณะพยาบาลศาสตร์ ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมโดยการนัดหมายกันล่วงหน้า

สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

          สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ภายใต้การควบคุมของรองกิจการนักศึกษาร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละหมู่เรียน รายละเอียดเพิ่มเติม

 

15. นโยบายปลอดบุหรี่

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.6 นโยบายปลอดบุหรี่

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีนโยบายการบริการจัดการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ โดยมีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เรื่อง นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยยังให้บริการเลิกบุหรี่ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะพยาบาลศาสตร์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเลิกบุหรี่

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

นอกจากนี้ สำนักงานอธิการบดี โดยกองพัฒนานักศึกษา ได้จัดโครงการ NPRU ร่วมใจรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ปี 2565 เพื่อเป็นการรณรงค์งดเว้นการสูบบุหรี่ ติดตามอาคาร สถานที่ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดทำพื้นที่สำหรับการสูบบุหรี่ที่ไม่รบกวนต่อที่ส่วนรวม และส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากพิษภัยของบุหรี่ รวมถึงมีบรรยากาศในสถานศึกษาที่ดีเอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตการเรียน การทำงาน ของนักศึกษาและบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีต่อบุคคลทั่วไปที่เข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการดำเนินการในระหว่างวันที่ 15 - 20 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

16. ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ ระดับท้องถิ่น

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับท้องถิ่น  เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับท้องถิ่น ได้แก่ Nong Din Daeng Tambon Health Promoting Hospital,  Thung Khwan Health Promoting Hospital and Tambon Phong Maduea TamBon Health Promoting Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล

         รายละเอียดเพิ่มเติม

17. ความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพ ระดับชาติ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับชาติ เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

                    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับประเทศ ได้แก่ Nakhonpathom Hospital, Ratchaburi Hospital, Banphaeo General Hospital, Thammasat University  Hospital, Banpong Hospital, Photharam Hospital, Srithanya Hospital, Makarak Hospital, Hospital and Makarak Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล  รายละเอียดเพิ่มเติม

18. ความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพ ระดับนานาชาติ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับ Hungkuang University ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาพยาบาล รายละเอียดเพิ่มเติม