ผลการดำเนินงาน ปี 2023
SDG3-3-2 : Health outreach programmes Deliver outreach programmes and projects in the local community (which can include student volunteering programmes) to improve or promote health and well-being including hygiene, nutrition, family planning, sports, exercise, aging well, and other health and well-being related topics. This can also include outreach programmes to displaced or refugee communities local to the institution.

1. โครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย รูปแบบออนไลน์

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย รูปแบบออนไลน์

 

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย รูปแบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ มีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 70 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 25 - 27 ธันวาคม 2564 ณ สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ร้อยละ 91.12 ซึ่งบรรลุเป้าหมาย

2. นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ ร้อยละ 90.22 ซึ่งบรรลุเป้าหมาย

3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อโครงการฯ ร้อยละ 90.52

 

 

2. โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

          คณะพยาบาลศาสตร์ดำเนินโครงการร่วมกับโรงพยาบาลนครปฐม สสอ.เมืองจังหวัดนครปฐม ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และประชาชนทั่วไป ดำเนินโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีคณาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และนางพวงพันธ์ วุฒิยาสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลนครปฐม และนางสาวพัชรจริยา  ดำเรืองศรี เป็นวิทยากรให้ความรู้ทางด้านการดูแลโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และกิจกรรมพระพุทธศาสนา  พร้อมการจัดกิจกรรมสันทนาการฝึกสมอง และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหาของโรคในผู้สูงอายุ ณ ห้องเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ชั้น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านซ่องทาง Facebook

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

มีความพึ่งพอใจอยู่ในระดับดีมาก

Link ที่เกี่ยวข้อง

 

3. โครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

          วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วริยา จันทร์ขำ รองคณบดีคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์เรียม นมรักษ์อาจารย์กิติกร พรมา จัดโครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทานจำนวน 40 คน  ณ โรงเรียนวัดศรีวิสารวาจา จังหวัดนครปฐม

รายละเอียดเพิ่มเติม

4. โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

คณะพยาบาลศาสตร์ ออกให้บริการวิชาการ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ  ในวันที่ 27 มกราคม 2566 โดยให้นักเรียน โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม  เข้าร่วมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1% หญิง 42.9 % ทำ pre-test ก่อนบรรยายเพื่อทดสอบความรู้ และมีอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเนื้อความความรู้ต่างๆและได้สอนขั้นตอนการทา CPR อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลมีการสาธิตให้ดูก่อน ระหว่างบรรยายได้มีการให้เด็กนักเรียนตอบคาถามเพื่อให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมหลังจากบรรยายเสร็จได้มีการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทา CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน ให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติโดยจะมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนาและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนต่างให้ความสนใจและร่วมมือในการฝึกปฏิบัติอย่างดี หลังจากได้ฝึก CPR ครบทุกคน ได้มีการให้สมาชิกในกลุ่มคัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มไปแข่งการทา CPR มีการแจกของรางวัลให้กับเด็กนักเรียนที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จได้มีการให้เด็กนักเรียนทา post-test เพื่อประเมินความรู้หลังได้ปฏิบัติ

 

วัตถุประสงค์ของการออกบริการวิชาการ

  1. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมมีความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ป่วย   

ผู้หมดสติ

  1. เพื่อให้คำแนะนำแก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมในการดุแลการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

กิจกรรมการออกบริการวิชาการ

          1. บรรยาย เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

          2. ฝึกปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทำ CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน โดยให้ทุกคนได้ทดฝึกปฏิบัติและมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1 หญิง ร้อยละ 42.9  มีความรู้เพิ่มขึ้นเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจากการทำแบบสอบถาม pre-test  ก่อนให้ความรู้ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 9.54 (SD 1.75)  หลังให้ความรู้ post-test คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 10.81 (SD 1.99)

          2. นักเรียนที่เข้ารับการร่วมกิจกรรมครั้งนี้มีความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.76 (SD 0.98) ในการเข้าอบรมครั้งนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

 

5. โครงการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี

วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2566 คณะพยาบาลศาสตร์  ดำเนินกิจกรรมบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี โดนมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้อบรมได้กิจกรรมและมีบทบาททางสังคมได้นานที่สุดตามทฤษฎีการมีกิจกรรม และส่งเสริมให้ผู้อบรมมีวิธีการปรับตัวแบบเดิมให้คงไว้ซึ่งบุคลิกภาพเดิมมากที่สุด โดยจะทำกิจกรรมเท่าที่ทำได้ให้ได้มากและนานที่สุดตามทฤษฎีความต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมาย ผู้อบรมสถาบันวิชชาจารย์เพื่อสุขภาพผู้สูงอายจำนวน 16 คน ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและผู้สูงอายุที่องค์การบริหารส่วนตำบล      ท่างาม อำเภออินบุรีย์ จังหวัดสิงห์บุรี ร้อยละ 100  ผู้อบรมมีความพึงพอใจและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.51) ซี่งทั้งหมดได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้านอาชีพ การออกกำลังกายตามวัย และการผ่อนคลายจิตใจ รวมถึงกิจกรรมสันทนาการเพื่อคลายเครียด และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในวัยเกษียณ และให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

เชิงปริมาณ

          1. ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและผู้สูงอายุที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินบุรีย์ จังหวัดสิงห์บุรี ร้อยละ 100

          2. ผู้อบรมมีความพึงพอใจและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.70)

          เชิงคุณภาพ

          1. ผู้อบรมรู้สึกประทับใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

          2. ผู้อบรมได้รับความสนุกสนาน การผ่อนคลาย และได้พูดคุยกับบุคคลอื่น ทำให้ได้รักษาการทำหน้าที่ของตนเอง และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง

          ข้อคิดเห็นอื่นๆ

1. รู้สึกประทับใจตั้งแต่การดูแลติดตามการเข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ และการดูแลของน้องๆนักศึกษา ฝากขอบคุณท่านอธิการบดี ท่านคณบดี คณาจารย์และนักศึกษาที่ดูแลพามาได้เห็นการพัฒนาผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ (11 คน)

2. ได้เรียนรู้ถึงชุมชนเข้มแข็ง การมีผู้นำที่เข้มแข็งการรัก สามัคคีกันในชุมชน การใช้ประโยชน์จากผู้มีความรู้ในชุมชนมาทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

3. ได้เรียนรู้การแปรรูปกล้วย การออกกำลังกาย การใช้สมุนไพรต่างๆมาดูแลสุขภาพ

4. ได้รับความสนุกสนาน การผ่อนคลาย ได้เพื่อพูดคุย ได้เห็นชีวิตผู้อื่น สังคมอื่นที่แตกต่างจากที่เราดำรงชีวิตอยู่ประจำ

          5. อยากนำไปพัฒนาชุมชนที่ตนเองอยู่จะนำไปเล่าสู้ผู้นำในชุมชนดู

          6. นำความรู้ไปแปรรูปกล้วยที่บ้าน นำไปพัฒนาการทำกล้วยกวนให้อร่อยยิ่งๆขึ้น

          7. นำความรู้ไปปลูกพืชสมุนไพรในบ้านนำไปใช้ในชีวิต

          8. นักศึกษาดูแลดี คอยสอบถาม และชวนพูดคุย บางครั้งให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ คอยดูแลไม่ให้หิ้วของหนัก และดูแลระวังไม่ให้หกล้ม

 

          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป

          ทุกอย่างดีมากๆ ขอบคุณมากๆและควรมีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ และควรมีกิจกรรมพาผู้สูงอายุไปดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงใกล้ๆมหาวิทยาลัยเพื่อการเรียนรู้ดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สู่การปฏิบัติต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม