1. การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป
ตัวชี้วัดที่ 4.3 มาตรการจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.1 ทรัพยากรสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้
เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด ในการสืบค้นทรัพยากรในทุกประเภทได้จากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (WebOpac) https://aritopac.npru.ac.th และการสืบค้น วิทยานิพนธ์ FulltText Online NPRU e-Thesis Fulltext : https://bit.ly/3Ghs3Db
การเผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ได้จาก http://arit.npru.ac.th/
การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางการศึกษาสาหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนที่มหาวิทยาลัย เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด หลักสูตรออนไลน์ต่าง ๆ และการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ สานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด
1. การสืบค้นทรัพยากรในทุกประเภทได้จากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (WebOpac) https://aritopac.npru.ac.th
2. การสืบค้นวิทยานิพนธ์ FulltText Online NPRU e-Thesis Fulltext : https://bit.ly/3Ghs3Db
3. การสืบค้นข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : https://npruarc.omeka.net/
2. ทรัพยากรสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ตัวชี้วัดที่ 4.3 มาตรการจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.1 ทรัพยากรสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC)
สำนักคอมพิวเตอร์มีการจัดให้บริการการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC) มีรายละเอียด ดังนี้
1. NPRU Courseware เป็นเว็บไซต์เผยแพร่บทเรียนออนไลน์ของอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์บนระบบ NPRU Online Courses เป็นการนำบทเรียนออนไลน์ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิมาเผยแพร่ให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ http://courseware.npru.ac.th/ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ปัจจุบันมีรายวิชาจำนวน 116 รายวิชา
2. Thai MOOC เป็นระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชนของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ผลิตรายวิชาเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Thai MOOC โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2553 ปัจจุบันมีรายวิชาเผยแพร่จำนวน 6 รายวิชา รายละเอียดบทเรียน Thai MOOC
3. บริการสื่อการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา
สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้บริการสื่อการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา โดยบุคคลทั่วไป สามารถเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สื่อการเรียนรู้ที่ให้บริการ ประกอบด้วย หนังสือ/ตำราด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หนังสือเตรียมความพร้อมในการสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษประเภทต่าง ๆ หนังสืออ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษทั้งรูปแบบเล่ม และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งดีวิดีภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ รายละเอียด
4. ระบบฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นงานวิจัย
NPRU -Online Journal and Research Databases เป็นระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เช่น ผลงานจากงานประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย (์NPRU conference) วิทยานิพนธ์ (thesis) ของบัณฑิตระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ระบบนี้สามารถใช้สืบค้นงานวิจัยเพื่อการศึกษาหรือการอ้างอิง รายละเอียด
6. NPRU Online Courses
อาจารย์ชาวต่างประเทศ สังกัดสถาบันภาษา ได้จัดทำหลักสูตรสอนภาษาออนไลน์สำหรับนักศึกษาราชภัฏนครปฐม โดยมีจำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่
1. 1500214 ภาษาเขมรเบื้องต้น โดยอาจารย์ Sopheak Sek,
2. 1500215 ภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้น โดยอาจารย์ Anjas Asmara
3. 1500104 ภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบอาชีพ โดยอาจารย์ Jade Oliver Narca Dabon
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม หลักสูตรออนไลน์ได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และนักศึกษาสามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
7. การให้บริการ ห้อง NPRU GSB Innovation center
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้บริการ ห้อง NPRU GSB Innovation center สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปได้เข้าใช้บริการฟรี รายละเอียด
3. กิจกรรมสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ตัวชี้วัดที่ 4.3 มาตรการจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.2 กิจกรรมสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เทคนิคการทำหนังสือ/ตำรา ร่วมกับ Microsoft Word" ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings
สำนักคอมพิวเตอร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เทคนิคการทำหนังสือ/ตำรา ร่วมกับ Microsoft Word" ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการทำหนังสือ/ตำราให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในวันที่ 27 เมษายน 2565 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ รายละเอียดเพิ่มเติม
2. โครงการการจัดนิทรรศการฉบับออนไลน์เกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้ชื่อ เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว : บทเรียนโควิดจาก มหาวิทยาลัย Stay safe ,Stay strong ,Stay with
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาได้จัดโครงการการจัดนิทรรศการฉบับออนไลน์เกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้ชื่อ เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว : บทเรียนโควิดจากมหาวิทยาลัย Stay safe ,Stay strong ,Stay with โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นความรู้และเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคโควิด 2019 และลดการติดเชื้อของโรคระบาด 2) เพื่อให้ตระหนักรู้ ยอมรับ และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบใหม่ของกลุ่มเป้าหมาย 3) เพื่อขับเคลื่อน เผยแพร่สื่อที่มีประโยชน์แก่สังคม มีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและบุคคลทั่วไป จำนวน 500 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 2 - 5 พฤศจิกายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการเป็นรูปแบบการจัดนิทรรศการออนไลน์ รายละเอียดเพิ่มเติม
3. งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2565 ขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว BCG : Bio – Cicular Green Economy” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษา ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ และเผยแพร่องค์ความรู้ให้ชุมชนได้รับทราบและยังเป็นการ กระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจได้ตระหนักถึง ความสำคัญและความจำเป็นของงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการปลูกฝังเจตคติที่ดีทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นกำลังสำคัญในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติม
4. กิจกรรมอบรมวิชาชีพ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.3 กิจกรรมอบรมวิชาชีพ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
1. อบรมให้ความรู้ทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการเริ่มต้น 2565
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ GSB Micropreneur 2565 สำหรับบุคคลทั่วไปได้เข้าร่วมอบรมฟรี โดยมีรายละเอียดหลักสูตร ดังนี้
1. วิชา สร้างธุรกิจยุค Covid เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
2. วิชา คุณค่าธุรกิจ ส่งต่อคุณค่าสังคม หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
3. วิชา การเข้าใจลูกค้าและเข้าใจเป้าหมายธุรกิจ หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
4. วิชา การตัดต่อวีดีโอและตกแต่งภาพอย่างมืออาชีพ หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
5. วิชา การสร้างยอดขายจาก Facebook Live หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
6. วิชา การสร้างแบรนด์สินค้าบนโลกออนไลน์ หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
7. วิชา การสร้างรายได้และอาชีพจาก YouTube หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
8. วิชา “TikTok Marketing ยุคใหม่” หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
9. วิชา “ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการออนไลน์” หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
10. วิชา “การเตรียมตัวเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมืออาชีพ” หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
2. โครงการพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไทย 4.0การอบรมเชิง
ปฏิบัติการการพัฒนาทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทย (On Site) ประจำปีงบประมาณ 2565
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีหลักสูตรระยะสั้น จำนวน 16 หลักสูตร ประกอบด้วย
1. หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพและการเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ “พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน"
2. หลักสูตรเทคนิคการสื่อสารในองค์กร
3. หลักสูตรออกแบบกราฟิกในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดียเพื่อธุรกิจด้วยตนเอง
4. หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
5. หลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
6. หลักสุตรอบรมเชิงปฏิบัติการบันทึกเสียงดนตรี
7. หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อมการสอบรับใบอนุญาตว่าความ
8. หลักสูตรการเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการถ่ายทอดกระบวนท่ารำนาฏศิลป์ไทย
9. หลักสูตรหลักสูตรธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น
10. หลักสูตรการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
11. หลักสูตรการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วยการสื่อสารที่ทรงพลัง
12. หลักสูตรการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ในศตวรรษที่ 21
13. หลักสูตรพิมพ์ ย้อม ลวดลาย สีธรรมชาติ (Eco printing)
14. หลักสูตรนักรัก โปรดักชัน
15. หลักสูตรการจัดรูปแบบการพิมพ์ การอ้างอิงและบรรณานุกรมสำหรับการทำผลงานทางวิชาการ
16. หลักสูตรการสอนภาษาจีนด้วย TBL
3. โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูที่มุ่งเน้นสมรรถนะของครูมืออาชีพ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูที่มุ่งเน้นสมรรถนะของครูมืออาชีพ กิจกรรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและศึกษานิเทศก์ทางด้านการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผลและการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นครู จำนวน 15 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน โดยระยะเวลาดำเนินการโครงการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 และสิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 โดยแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ดำเนินโครงการในรูปแบบออนไลน์ วันที่ 14, 20 กุมภาพันธ์ 2565 ครั้งที่ 2 ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ (on-site) วันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 และครั้งที่ 3 ดำเนินโครงการนิเทศติดตาม วันที่ 1 มีนาคม – 31 มีนาคม 2565 ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทเกษม
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ได้แก่
1) ครูจากโรงเรียนคุณภาพ จำนวน 3 โรงเรียนและศึกษานิเทศก์ 3 เขตพื้นที่ ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้การขยายผลแบบผสมผสาน (Blended training)
และการวัดประเมินผลตามฐานสมรรถะ
2) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดทำแผนการนิเทศติดตาม
3) ได้แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตลอดจนรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ
4. โครงการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน 2) เพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ 3) เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับศิษย์เก่า และ 4) เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โดยโครงการดังกล่าว จัดขึ้นในวันที่ 13-14 สิงหาคม 2565 ณ อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย และวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ณ อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งภายใต้โครงการมีกิจกรรมอบรม ต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อสอบอิงฐานสมรรถนะ การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และการสร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพผู้เรียนอิงหลักสูตรฐานสมรรถนะ รายละเอียดเพิ่มเติม
5. โครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (Enrichment Program)
โครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (Enrichment Program) มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อพัฒนานักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะด้านคุณลักษณะตามผลลัพธ์ที่กำหนดในแต่ละชั้นปี
2) เพื่อพัฒนานักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะด้านการสร้างสัมพันธ์กับชุมชนตามผลลัพธ์ที่กำหนดในแต่ละปี
3) เพื่อพัฒนานักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะด้านอัตลักษณ์ตามผลลัพธ์ที่กำหนดในแต่ละชั้นปี
โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2565 และวันที่ 3-4 กันยายน 2565 เป็นการอบรมแบบออนไลน์ รวม 4 วัน โดยมีนักศึกษาโครงการครูคืนถิ่น ปี 2560 เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน และปี 2561 จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน รายละเอียดเพิ่มเติม
6. โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS)
โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) การปรับปรุงบัญชีการปิดบัญชีและรายงานงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ”
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) การปรับปรุงบัญชีการปิดบัญชีและรายงานงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ” รุ่นที่ 1 วันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. 2564 ณ โรงแรม ประจักษ์ตราดีไซน์โฮเต็ล อ.เมือง จังหวัดอุดรธานี
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 50 คน
1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ การจัดทำรายงานการเงิน การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน การบันทึกบัญชี ให้ถูกต้องตามระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
2. เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีได้ถูกต้องตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มมท 0808.4/ว 2608 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในผังบัญชีมาตรฐานที่ใช้ในระบบการบันทึกบัญชีในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS)
4. เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการบันทึกบัญชี รายงานการเงินและการตรวจสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานในระบบการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีภาครัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการปฏิบัติด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการบริหารงานพัสดุให้เกิดประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
7. โครงการถ่ายทอดอาชีพสู่ชุมชนในรูปแบบ YouTube รายละเอียด
8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ค่ายพระพุทธยอดฟ้า
มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ค่ายพระพุทธยอดฟ้าในระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการจัดออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning และมีทักษะในการจัดทำ สื่อการเรียนการสอนทั้งสื่อมัลติมีเดีย และสื่อทำ มือ ให้กับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ทั้ง 16 โรงเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่อง การจัดออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่สอดคล้องกับผู้เรียนและธรรมชาติวิชา
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษาะในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนทั้งสือมัลติมีเดียวและสื่อทำมือ
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
5. นโยบายการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.3.5 นโยบายการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1. มหาวิทยาลัยรได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566-2570 โดยมีการสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อยกระดับสมรรถนะบุคลากรวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สนับสนุนการสร้างระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น
มีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses และเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน Thai MOOC เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต
แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566 - 2570 (หน้า 114)
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบ/กระบวนการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครูที่มีประสิทธิภาพให้สอดรับกับแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ด้านการศึกษา กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน (BR1203) ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญคือ สถาบันผลิตครูต้องปรับบทบาทการผลิตครูที่มีสมรรถนะสูงและเป็นความต้องการของประเทศ โดยกลไกและระบบการผลิต คัดกรองครูและบุคลากรทางการศึกษาและอาจารย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) มีรูปแบบ กระบวนการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครู ที่มีประสิทธิภาพ เที่ยงตรง และลดความเหลื่อมล้ำ 2) มีหลักสูตรการผลิตครูที่เป็นเลิศและมีรูปแบบกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามความต้องการความจำเป็นตามบริบทของสาขาวิชาพื้นที่ และ 3) มีกรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดสมรรถนะอาจารย์สถาบันผลิตครู และครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนหรือสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาชีพครู เพื่อนำไปสู่การประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานและสมรรถนะและการวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะอาจารย์สถาบันผลิตครูและครูพี่เลี้ยงตามความจำเป็น
6. กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.4 กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต
1. โครงการวิจัยเครือข่ายภูมิภาค (ภาคกลาง) เพื่อขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ ระดับจังหวัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ปีงบประมาณ 2565
การศึกษา “โครงการขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ระดับจังหวัด : ภาคกลาง” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและปรับปรุงตัวชี้วัดของเครื่องมือสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ ระดับจังหวัด ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูล และระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัด 3) สร้างเครือข่ายในการในการสำรวจและบริหารจัดการจัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค และ 4) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค เพื่อนำใช้ในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาต่อองค์การสหประชาชาติและสาธารณะ
พื้นที่การศึกษาประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นครนายก ลพบุรี สระแก้ว และระยอง กลุ่มเป้าหมายในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตัวแทนครูอาจารย์ของแต่ละระดับการศึกษา 3) ตัวแทนนักเรียน/นักศึกษาแต่ละระดับการศึกษา (ป.6, ม.3, ม.6, ปวช.3) 4) ตัวแทนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปวส.2, ปริญญาตรีปีที่ 3 และปีที่ 4) รวมกลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 620 คน 5 จังหวัด 3,100 คน
2. โครงการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนกองทุนการศึกษาโรงเรียน ตชด. และ อพ.สธ. กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนภายใต้โครงการกองทุนการศึกษาในพื้นที่ อำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี "การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน"
สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนกองทุนการศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนภายใต้โครงการกองทุนการศึกษา ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี "การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน" วันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเรียนวัดคอกช้าง ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ด้านศิลปศึกษาให้กับครู และนักเรียน และเพื่อส่งเสริมทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านศิลปศึกษาให้กับครูผู้สอน
3. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับนักเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับนักเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในช่วงเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เรื่องทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กับครูและนักเรียน การส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาไทยและส่งเสริมทักษะภาษาไทยให้กับนักเรียน และการเพิ่มทักษะการคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับระดับชั้นอนุบาล
4. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ค่ายวิชาการบูรณาการกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ค่ายวิชาการบูรณาการกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯในระหว่างวันที่ 27 – 28 เดือน มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้ำน้อย ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้ครูมีความรู้และออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐาน และให้นักเรียนมีความรู้เรื่องคำศัพท์และการอนุรักษ์น้ำโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตบูรณาการและปลูกฝังให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล
มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล ในระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทักษะการท่องเที่ยวและพัฒนานักเรียนเป็นมัคคุเทศก์น้อยให้ตรงกับความต้องการในการรับบริการทางวิชาการ สำหรับครู และนักเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ได้ส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
2. ได้กิจกรรมท่องเที่ยวผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ระหว่างวันที่ 7 – 9 มกราคม 2565 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อกคี่ กิจกรรมที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ระหว่างวันที่ 15 – 17 มกราคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล และกรรมที่ 3 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาสวาย ระหว่างวันที่ 22 – 24 มกราคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไกรเกรียง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริมทักษะและพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้ตรงกับความต้องการในการรับบริการทางวิชาการ สำหรับครูและนักเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ครูและนักเรียนได้รับการพัฒนาองค์ ความรู้เรื่อง กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์
2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 13 ในเขตพื้นที่จังหวัด กาญจนบุรี ได้รับการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3. ได้พัฒนาหลักสูตรการอบรม ที่ตรงกับความต้องการในการรับบริการทางวิชาการ สำหรับครูและนักเรียน
7. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ สอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้ ACT-THINK-FUN
มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้ ACT-THINK-FUN ในระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและเน้นกระบวนการคิด ให้กับครูโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษาในพื้นที่ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ครู ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2. ครู ได้รับการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมกระบวนการคิดและนักเรียนมีความสนุกสนาน
8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการติดตามประเมินครูปฐมวัยตามสภาพจริง ณ สถานศึกษา
โดยใช้เทคนิคแบบพาคิดพาทำ
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ ดำเนินการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การติดตามประเมินครูปฐมวัยตามสภาพจริง ณ สถานศึกษาโดยใช้เทคนิคแบบพาคิดพาทำ ภายใต้การวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยจัดให้แก่คุณครู ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 53 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดนครปฐม จำนวนทั้งสิ้น 4 โรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง ได้แก่ โรงเรียนวัดสามง่าม (คงทองอนุสรณ์) โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ โรงเรียนวัดโพธิ์งาม และโรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม และคณะครูโรงเรียนอื่น ๆ ในโครงการ ได้แก่ โรงเรียนวัดม่วงตารศ โรงเรียนวัดหนองปากโลง โรงเรียนวัดหนองเสือ โรงเรียนวัดกำแพงแสน โรงเรียนประถมฐานบิน และโรงเรียนวัดนิยมธรรม
ทั้งนี้ คณะคุณครูในโครงการ เป็นคณะครูที่ได้ผ่านการอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ชุดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว และได้ทำสัญญาลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเพื่อสร้างความร่วมมือกับกิจกรรมการวิจัยนี้
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ชุดกิจกรรมในการจัดกิจกรรมตามชุดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม
9. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน
มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียน ในระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะด้านศิลปศึกษาให้กับครูผู้สอนและนักเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ครู ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา และนักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านศิลปศึกษาในโรงเรียน
10. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผู้เรียนด้วยกระบวนการพัฒนาครูประจำให้มีสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ครูในมิติการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถาบันอุดมศึกษา 3) เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของครูในการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีกลุ่มเป้าหมายคือครูในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 40 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการเป็นรูปแบบการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้กับบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย
11. โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการแนะแนว
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการแนะแนว โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายได้รับประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ 2) เพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีกลุ่มเป้าหมายคือ ครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 โรงเรียน 47 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 6-7 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแม่น้ำรีสอร์ท ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการเป็นรูปแบบการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้กับบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย
12. โครงการพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม : ระยะที่ 2 การประชุมปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับครูเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม และ 2) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถาบันอุดมศึกษา โดยโครงการดังกล่าวนี้ มีครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 โรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 20 คน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม โรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ์ โรงเรียนวัดบึงลาดสวาย โรงเรียนวัดดอนหวาย และโรงเรียนวัดเกาะวังไทร ซึ่งกิจกรรมเป็นลักษณะการประชุมปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับครูเกี่ยวกับการดำเนินการกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดกลางบางแก้ว และระยะที่ 3 เป็นกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ จัดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2565
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
จากผลสัมฤทธิ์โครงการมีผู้เข้าร่วมโครงการ 39 คน บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจภายหลังการอบรมจากการประเมินตนเองด้วยแบบสอบถาม ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 นอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้ของผู้เข้ารับการอบรม ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่าดับ 4.77
7. การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป
การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้
เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด หลักสูตรออนไลน์ต่าง ๆ และการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีบริการด้านอื่นๆ เพื่อให้ความบันเทิงแก่ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ฟรี เช่น โสตทัศนูปกรณ์ ที่ให้บริการ ได้แก่ เครื่องเล่นดีวีดี, เครื่องเล่น HD Player พร้อมโทรทัศน์ LED-TV, หูฟังไร้สาย, เครื่องขยายเสียงระบบ Home Theater, เครื่องขยายเสียงพร้อมไมโครโฟน, เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์
8. กิจกรรมสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ตัวชี้วัดที่ 4.3 มาตรการจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.2 กิจกรรมสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เทคนิคการทำหนังสือ/ตำรา ร่วมกับ Microsoft Word" ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings
สำนักคอมพิวเตอร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เทคนิคการทำหนังสือ/ตำรา ร่วมกับ Microsoft Word" ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการทำหนังสือ/ตำราให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในวันที่ 27 เมษายน 2565 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ รายละเอียดเพิ่มเติม
2. โครงการการจัดนิทรรศการฉบับออนไลน์เกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้ชื่อ เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว : บทเรียนโควิดจาก มหาวิทยาลัย Stay safe ,Stay strong ,Stay with
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาได้จัดโครงการการจัดนิทรรศการฉบับออนไลน์เกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้ชื่อ เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว : บทเรียนโควิดจากมหาวิทยาลัย Stay safe ,Stay strong ,Stay with โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นความรู้และเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคโควิด 2019 และลดการติดเชื้อของโรคระบาด 2) เพื่อให้ตระหนักรู้ ยอมรับ และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบใหม่ของกลุ่มเป้าหมาย 3) เพื่อขับเคลื่อน เผยแพร่สื่อที่มีประโยชน์แก่สังคม มีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและบุคคลทั่วไป จำนวน 500 คน โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 2 - 5 พฤศจิกายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการเป็นรูปแบบการจัดนิทรรศการออนไลน์ รายละเอียดเพิ่มเติม
3. งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2565 ขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว BCG : Bio – Cicular Green Economy” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษา ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ และเผยแพร่องค์ความรู้ให้ชุมชนได้รับทราบและยังเป็นการ กระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจได้ตระหนักถึง ความสำคัญและความจำเป็นของงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการปลูกฝังเจตคติที่ดีทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นกำลังสำคัญในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติม
9. นโยบายการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.5 นโยบายการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1. มหาวิทยาลัยรได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566-2570 โดยมีการสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อยกระดับสมรรถนะบุคลากรวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สนับสนุนการสร้างระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น
มีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses และเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน Thai MOOC เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต
แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566 - 2570 (หน้า 114)
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบ/กระบวนการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครูที่มีประสิทธิภาพให้สอดรับกับแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ด้านการศึกษา กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน (BR1203) ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญคือ สถาบันผลิตครูต้องปรับบทบาทการผลิตครูที่มีสมรรถนะสูงและเป็นความต้องการของประเทศ โดยกลไกและระบบการผลิต คัดกรองครูและบุคลากรทางการศึกษาและอาจารย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) มีรูปแบบ กระบวนการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครู ที่มีประสิทธิภาพ เที่ยงตรง และลดความเหลื่อมล้ำ 2) มีหลักสูตรการผลิตครูที่เป็นเลิศและมีรูปแบบกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามความต้องการความจำเป็นตามบริบทของสาขาวิชาพื้นที่ และ 3) มีกรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดสมรรถนะอาจารย์สถาบันผลิตครู และครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนหรือสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาชีพครู เพื่อนำไปสู่การประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานและสมรรถนะและการวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะอาจารย์สถาบันผลิตครูและครูพี่เลี้ยงตามความจำเป็น
10. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ GSB Micropreneur 2565 สำหรับบุคคลทั่วไปได้เข้าร่วมอบรมฟรี
กิจกรรมอบรมวิชาชีพ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ GSB Micropreneur 2565 สำหรับบุคคลทั่วไปได้เข้าร่วมอบรมฟรี โดยมีรายละเอียดหลักสูตร ดังนี้
1. วิชา สร้างธุรกิจยุค Covid เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
2. วิชา คุณค่าธุรกิจ ส่งต่อคุณค่าสังคม หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
3. วิชา การเข้าใจลูกค้าและเข้าใจเป้าหมายธุรกิจ หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
4. วิชา การตัดต่อวีดีโอและตกแต่งภาพอย่างมืออาชีพ หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
5. วิชา การสร้างยอดขายจาก Facebook Live หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
6. วิชา การสร้างแบรนด์สินค้าบนโลกออนไลน์ หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
7. วิชา การสร้างรายได้และอาชีพจาก YouTube หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
8. วิชา “TikTok Marketing ยุคใหม่” หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
9. วิชา “ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการออนไลน์” หลักสูตร เครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์
10. วิชา “การเตรียมตัวเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมืออาชีพ” หลักสูตร การพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ
11. ทรัพยากรสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.1 ทรัพยากรสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
สำนักคอมพิวเตอร์มีการจัดให้บริการการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC) มีรายละเอียด ดังนี้
1. NPRU Courseware เป็นเว็บไซต์เผยแพร่บทเรียนออนไลน์ของอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์บนระบบ NPRU Online Courses เป็นการนำบทเรียนออนไลน์ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิมาเผยแพร่ให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ http://courseware.npru.ac.th/ โดย เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ปัจจุบันมีรายวิชาจำนวน 116 รายวิชา
2. Thai MOOC เป็นระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชนของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ผลิตรายวิชาเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Thai MOOC โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2553 ปัจจุบันมีรายวิชาเผยแพร่จำนวน 6 รายวิชา
ลำดับ |
รายวิชา |
Link เข้าเรียน |
---|---|---|
1 |
|
(ปี 2563) เปิดเรียนเมื่อ 5 เม.ย.2564 https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NPRU+NPRU003+2021/about |
2 |
|
https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NPRU+NPRU002+2021/about |
3 |
|
(ปี 2563) เปิดเรียนแล้วเมื่อ 29 ก.ค.2564 https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NPRU+NPRU001+2021/about
|
4 |
|
https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NPRU+NPRU004+2022/about
|
5 |
|
(ปี 2564) เปิดเรียนแล้วเมื่อ 30 มิ.ย. 2565 https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NPRU+NPRU006+2022/about
|
6 |
|
(ปี 2564) เปิดเรียนแล้วเมื่อ 1 ก.ค. 2565 https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NPRU+NPRU009+2022/about
|
12. การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้
เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด หลักสูตรออนไลน์ต่าง ๆ และการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีบริการด้านอื่นๆ เพื่อให้ความบันเทิงแก่ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ฟรี เช่น โสตทัศนูปกรณ์ ที่ให้บริการ ได้แก่ เครื่องเล่นดีวีดี, เครื่องเล่น HD Player พร้อมโทรทัศน์ LED-TV, หูฟังไร้สาย, เครื่องขยายเสียงระบบ Home Theater, เครื่องขยายเสียงพร้อมไมโครโฟน, เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์
http://arit.npru.ac.th/index.php?act=6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype=editor_left&slm_id=352
13. หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC)
หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC)
มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566-2570 โดยมีการสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อยกระดับสมรรถนะบุคลากรวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สนับสนุนการสร้างระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น มีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses และเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน Thai MOOC เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต
แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566 - 2570 (หน้า 114)
1. NPRU Courseware เป็นเว็บไซต์เผยแพร่บทเรียนออนไลน์ของอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์บนระบบ NPRU Online Courses เป็นการนำบทเรียนออนไลน์ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิมาเผยแพร่ให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ http://courseware.npru.ac.th/ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 รายวิชา
2. Thai MOOC เป็นระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชนของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ผลิตรายวิชาเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Thai MOOC โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2553
https://thaimooc.org/taxonomy/publisher/npru
14. บริการสื่อการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา
สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้บริการสื่อการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา โดยบุคคลทั่วไป สามารถเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สื่อการเรียนรู้ที่ให้บริการ ประกอบด้วย หนังสือ/ตำราด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หนังสือเตรียมความพร้อมในการสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษประเภทต่าง ๆ หนังสืออ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษทั้งรูปแบบเล่ม และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งดีวิดีภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ
ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา https://short.npru.ac.th/373
15. ระบบฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นงานวิจัย
NPRU -Online Journal and Research Databases เป็นระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เช่น ผลงานจากงานประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย (์NPRU conference) วิทยานิพนธ์ (thesis) ของบัณฑิตระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ระบบนี้สามารถใช้สืบค้นงานวิจัยเพื่อการศึกษาหรือการอ้างอิง
https://publication.npru.ac.th/
16. แหล่งสืบค้นข้อมูล E-Book
17. NPRU Online Courses
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เปิดหลักสูตรออนไลน์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://online-courses.npru.ac.th/ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
18. การให้บริการ ห้อง NPRU GSB Innovation center
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้บริการ ห้อง NPRU GSB Innovation center สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปได้เข้าใช้บริการฟรี
นักศึกษาเข้าใช้บริการ นั่งทำงาน นั่งพักผ่อน
หน่วยงานใช้สถานที่ในการประชุมและถ่ายภาพโปรโมทหน่วยงาน
ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะ สอนวิธีการถ่ายภาพและจัดทำวีดีโอสินค้า
19. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ณ โรงเรียนวัดสามควายเผือก ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 64 คน โดยเน้นการบริการวิชาการสู่ชุมชน ได้แก่ การพัฒนาห้องสมุด การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ การปรับบรรยากาศของห้องสมุดโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=30259