1. การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดที่ 7.4 พลังงานและชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.1 การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลสำหรับสูบน้ำในคลองเพื่อใช้สำหรับแปลงเกษตร เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนในชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์กันได้อย่างถ้วนหน้า และการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์จะไม่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชนอีกต่อไป
2. ความมุ่งมั่นเพื่อพลังงานทดแทน 100%
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.2 ความมุ่งมั่นเพื่อพลังงานทดแทน 100%
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.4 การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4. มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่การจัดอันดับ UI Green Metric World University Ranking มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทดแทน เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยสู่ Green University
5. ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.5 ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ
- ไม่มีข้อมูล -
6. ระบบตรวจจับการใช้พลังงานสิ้นเปลือง สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
ระบบตรวจจับการใช้พลังงานสิ้นเปลือง สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ทำการวิจัยการลดพลังงานไฟฟ้า ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยการบูรณาการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนําไปใช้กับเครื่องตีน้ำในฟาร์มกุ้ง โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการทดสอบระบบตรวจจับการใช้พลังงานสิ้นเปลือง เพื่อที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องตีน้ำได้อย่างยั่งยืน ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยได้เข้าไปทำงานวิจัยในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำการเกษตรในด้านต่างๆ ด้วย
7. การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดที่ 7.4 พลังงานและชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.1 การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลสำหรับสูบน้ำในคลองเพื่อใช้สำหรับแปลงเกษตร เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนในชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์กันได้อย่างถ้วนหน้า และการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์จะไม่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชนอีกต่อไป
8. โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
มหาวิทยาลัยจัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการปฐมนิเทศและอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานในชุมชน และแนวทางการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน มุ่งเน้นการยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน เพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบการตลาดได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
9. การใช้พลังงานทดแทน
การใช้พลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นในการใช้พลังงานทดแทน เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากการติดตั้งแผงโซลาเซลตามอาคารต่างๆ โดย พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ 3,479.41 kWh ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 4,585,959.44 kWh สัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนต่อการใช้พลังงานเท่ากับ 0.07% ดังแสดงในตาราง
10. การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยตระหนักถึงมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกของมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกประเภท เช่น มีนโยบายในการปรับเปลี่ยนการใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอน
11. ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมมือกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เพื่อปรับปรุงระบบน้ำโดยใช้ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นฐานการเรียนรู้สำหรับการจัดการน้ำ ผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Lighting Systems) ทําให้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เหมาะสำหรับสนับสนุนกิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่างๆ ให้กับชุมชน
12. ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
13. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.4 การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
1. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
14. เข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings
มหาวิทยาลัยเข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings ซึ่งเป็นการวัดและจัดอันดับโดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia : UI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นการจัดอันดับสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบกิจกรรมของมหาวิทยาลัยในการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการบูรณาการไปกับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นสีเขียว โดยใช้หลักการ 3E คือ Environment, Economics, Equity and Education โดยประกอบไปด้วยเกณฑ์ 6 ด้าน คือ
1. Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
2. Energy and Climate Change (พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
3. Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
4. Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
5. Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
6. Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%
ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งในสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และ รักษาพลังงานอย่างยั่งยืน
เว็บไซต์ ์ : NPRU UI GreenMetric
15. คณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อดำเนินการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายอนุรักษ์พลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่กำหนดขึ้น
2. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวิธีการจัดการพลังงาน รวมทั้งจัดการอบรมหรือกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน
3. เพื่อควบคุมดูแลให้วิธีการจัดการพลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้กับเจ้าของอาคาร/ผู้บริหารระดับสูงรับทราบ
5. เพื่อทบทวนนโยบายอนุรักษ์พลังงานและการจัดการพลังงานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและวิธีการจัดการพลังงานให้เจ้าของอาคาร/ผู้บริหารระดับสูงพิจารณา
รายละเอียด : คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
16. โครงการติดตั้งระบบโซลาเซลล์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
โครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์
งานอาคารสถานที่ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ดำเนินการโครงการและนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานสะอาดทดแทน มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยฯ มีแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย โดยได้มีการดำเนินโครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์ เพื่อพัฒนาพลังงานและความยั่งยืน
1. ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดซื้อระบบโซลาเซลล์
2. การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ของส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ