1. การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เป็นการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยจัดกิจกรรมการจัดการดูแลพืชผักทางการเกษตร ในวันที่ 10 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์รักสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยอาจารย์ ดร.เกรียงไกร มีถาวรได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพืช (ผัก) และการป้องกันกำจัด โรคพืชคืออะไร มีสาเหตุจากอะไรบ้าง สาเหตุของโรคพืชจากสิ่งใด และเชื้อสาเหตุโรคพืชชนิดต่างๆที่พบได้บ่อย จนถึงวิธีการและกระบวนการจัดการโรคพืชที่เกษตรที่เกษตรกรสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง หรือต้องใช้ชีวภัณฑ์หรือสารเคมีอย่างเหมาะสม
รวมถึงการบรรยายในหัวข้อ การจัดการดิน แนวการปฏิบัติหลักการจัดการดินให้เหมาะสมสำหรับปลูกผัก แนวทางการตรวจวัดธาตุอาหารพืชในดิน การตรวจสอบอาการขาดธาตุอาหารพืชในพืชปลูก และหลักการวิธีการให้ปุ๋ยและธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสม
2. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการจัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ “หมอนสมุนไพรสร้างสุขภาพ”และ “ลูกประคบหน้าใส” โดยมี รศ.ดร.ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ พัฒนานวัตกรรม ผศ.ดร.ภารณี นิลกรณ์ ประธานสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และอาจารย์ประจำสาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย “หมอนสมุนไพรสร้างสุขภาพ” ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้รับการยอมรับ
เนื่องจากการเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชนตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตโดยไม่สนใจสุขภาพของตนเอง อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยและปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของแพทย์ในการค้นหาและดำเนินการรักษา และหากต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีพลังกายและพลังใจในการสร้างความรู้รักสามัคคีการเสริมสร้างด้านสุขภาพ นับว่ามีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยใหม่ เพื่อสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง โอกาสที่ร่างกายเจ็บป่วยก็จะน้อยลง ภูมิปัญญาการแพทย์แผน ไทยและการแพทย์ทางเลือกในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน จึงกลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ โดยกิจกรรมจัดมีกลวิธีผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ หมอพื้นบ้าน และแพทย์แผนไทยคอยให้ความรู้ คำชี้แนะและเป็นที่ปรึกษา และสามารถพัฒนาต่อยอดโดยบูรณาการในชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนา อาชีพให้กับกลุ่มวัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชนท้องถิ่นที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจัดกิจกรรมขึ้นเป็น 2 กิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ "หมอนสมุนไพรสร้างสุขภาพ" และการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างเสริมสุขภาพ ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้อง ประชุม เทศบาลตำ บลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ "ลูกประคบหน้าใส" และการพัฒนา บรรจุภัณฑ์สร้างเสริมสุขภาพ ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมและความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากชุมชม สร้างกลุ่มเครือข่ายรักสุขภาพด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตำบลโพรงมะเดื่อ
3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เป็นการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชนม์ ตั้งวชิระพันธ์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม วันที่ 13 - 14 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 08.30 – 16.30 น.
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลสำหรับสูบน้ำในคลองเพื่อใช้สำหรับแปลงเกษตร เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนในชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์กันได้อย่างถ้วนหน้า และการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์จะไม่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชนอีกต่อไป
4. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัยตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการในเดือนมกราคม 2565 – เดือนกรกฎาคม 2565 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน ปฏิบัติการการจัดการดิน
2. การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพระบบการผลิตให้กับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัยอย่างยั่งยืน ได้แก่ การเพาะเห็ดในซุ้มเห็ด การปลูกผักปลอดภัย ปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืชภายในแปลงปลูก รายละเอียดเพิ่มเติม
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและยกระดับระบบการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย
2. ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายในการซื้อหาค่าอาหารประจำวัน จากการมีแหล่งอาหารที่ผลิตได้เอง
3. เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างข้างบ้านในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน
5. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 สำหรับพิธีลงนามฯ ดังกล่าว สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบประชารัฐระหว่าง ราชการส่วนภูมิภาค คือ พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด ภาควิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กหรือ SMEs เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริโภค และเพื่อสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยผ่านการจัดนิทรรศการหรือ Digital Market Platform ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้มีการเชื่อมต่อตาม หลักการ University as a Marketplace รายละเอียดเพิ่มเติม
2. โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมงานกับ จังหวัดนครปฐม ตามโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ วัดวังตะกู ตำบลวังตะกู อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร หรือประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการได้รับความรู้และการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกัน โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ได้ให้บริการวิชาการด้านคลินิกเกษตร ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีการนำพันธุ์พริกกะเหรี่ยงที่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชได้ทำการขยายพันธุ์แจกจ่าย ให้กับประชาชน และบริการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้น
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนเกษตรปลอดภัย บ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนเกษตรปลอดภัย บ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัยตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงดินด้วยวัสดุเกษตรเหลือทิ้งในท้องถิ่น
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
มหาวิทยาลัยได้จัดการบรรยายและปฏิบัติการวางแผนการปลูกพืช การเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อผลิตผักปลอดภัยในระดับครัวเรือน การจัดการดิน การปรับปรุงสภาพดินก่อนปลูกพืช การถ่ายทอดความรู้ในการผลิตผักปลอดภัยอย่างครบวงจรให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้นำนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชไปร่วมเรียนรู้และร่วมปฏิบัติการกับครัวเรือนในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการบูรณาการพันธกิจด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ร่วมกับการบริการวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.1 การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพระบบการผลิตให้กับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัยอย่างยั่งยืน
1.2 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน
1.3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการเศษใบอ้อยในไร่อ้อยด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายใบอ้อย
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและยกระดับระบบการผลิตการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างข้างบ้านในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน
2. ครัวเรือนที่เข้ารับการพัฒนา มีรายได้ที่มั่นคง ต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ ร้อยละ 30 จำนวน 10 ครัวเรือน และสามารถลดรายจ่ายในการซื้อหาค่าอาหารประจำวัน จากการมีแหล่งอาหารที่ผลิตได้เอง จำนวน 55 ครัวเรือน
3. ลดพื้นที่การเผาไร่อ้อยในชุมชนลงไม่น้อยกว่า 200 ไร่
4. ชุมชนได้ขยายผลการดำเนินการโดยการบูรณาการความรู้ที่ได้จากการพัฒนา
4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับสาขาวิชา 4 สาขาวิชาในมหาวิทยาลัย ได้ แก่ 1.สาขาการบริการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ 2.สาขานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง 3.สาขาศิลปศึกษา 4.สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในรูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
1. ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
2. พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนด้านการจัดการตลาดวิถีใหม่ เช่น การพัฒนาเมนูอาหารท้องถิ่นจาก วัตถุดิบในท้องถิ่น การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การจัดศิลปะการแสดงวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชนเพื่อการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) การสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์
3. พัฒนารูปแบบการจัดการตลาดวิถีใหม่โดยชุมชน
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการตลาดวีถีใหม่ มีการวางแผนทำการตลาดเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของทางชุมชนมาเปิดร้านขายในพื้นที่ตลาดนัดชุมชน และเพิ่มช่องทางทางในการขายผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของทางชุมชนห้วยม่วง ทำให้ทางชุมชนสามารถมียอดขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. จากการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนห้วยม่วงด้วยการอบรมการตลาดวิถีใหม่ ทำให้ทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารประจำถิ่น เพื่อใช้ในการให้บริการจัดเลี้ยงในการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) และการให้บริการนักท่องเที่ยว และคนในชุมชน ซึ่งทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารได้ทั้งหมด 10 เมนู ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชาวลาวครั่งที่ได้จากการพัฒนาต่อยอดให้มีสีสันหลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว ชุดการแสดงชุมชนที่เป็นการแสดงสำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยว 2 ชุดการแสดง
3. ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการไปต่อยอดในการจัดตลาดโดยการออกร้านที่เป็นร้านของทางชุมชนห้วยม่วงร่วมกับตลาดนัดที่มีขึ้นในชุมชนทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และในรูปแบบออนไลน์ และในระยะถัดไปทางชุมชนห้วยม่วงได้วางแผนในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้คนมาเที่ยวในชุมชนโดยการเตรียมจัดโครงการวิ่งมาราธอนกุ้งซิ่งที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางในการท่องเที่ยวโดยชุมชนและทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
5. ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย
6. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 (รายละเอียดเพิ่มเติม) และให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการในโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานการยกระดับมาตรฐานพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565