1. นโยบายการจัดหาอย่างมีจริยธรรม
นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University)
มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University) เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร้านค้าผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. นโยบายการลดปริมาณสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง
ตัวชี้วัดย่อย 12.2.5 นโยบายการลดปริมาณสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง
มาตรการประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น มาตรการประหยัดไฟฟ้า มาตรการประหยักน้ำมัน มาตรการลดค่าใช้โทรศัพท์ มาตรการลดค่าไปรษณีย์ มาตรการประหยักน้ำประปา
นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University)
มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University) เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร้านค้าผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. นโยบายการลดปริมาณสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง
แผนงานและดำเนินการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) โดยได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
ที่หน่วยงานได้จัดหาถังขยะ 4 สี ในการแยกแต่ละประเภทดังนี้
1. ถังขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก) : สีเขียว
2. ถังขยะทั่วไป : สีน้ำเงิน
3. ถังขยะรีไซเคิล : สีเหลือง
4. ถังขยะอันตราย : สีแดง
ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดวางถังขยะรวมของทุกชั้น ภายในอาคารทั้ง 2 อาคาร โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก ซึ่งได้จัดหาถังขยะเฉพาะสำหรับการทิ้งก่อนการคัดแยก) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล โดยฝ่ายบริหารฯ ได้มอบหมายให้พ่อบ้าน แม่บ้าน ดำเนินการคัดแยกขยะ โดยหน่วยงานได้จัดวางถังขยะแยกประเภททั้ง 4 ประเภทไว้ภายนอกอาคาร จำนวน 2 จุด และภายในอาคาร 1 จุด 3 ประเภท (ยกเว้นถังขยะอันตราย : สีแดง) ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ตัวชี้วัดคุณภาพ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะประจำปี 2565
ในแต่ละประเภทขยะส่งจำหน่าย ขยะส่งจำกัด และขยะนำกลับมาใช้ใหม่
ตัวชี้วัดปริมาณ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะประจำปี 2565 ในแต่ละประเภทขยะส่งกำจัด จำนวน 204.30 กก. ขยะส่งจำหน่าย จำนวน 957.10 กก.และขยะนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 86.30 กก.
4. หลักเกณฑ์และวิธีการจำหน่ายพัสดุโดยวิธีแปรสภาพหรือทำลาย
หลักเกณฑ์และวิธีการจำหน่ายพัสดุโดยวิธีแปรสภาพหรือทำลาย
มหาวิทยาลัยได้จัดทำประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจำหน่ายพัสดุโดยวิธีแปรสภาพหรือทำลาย เพื่อนำพัสดุที่ยังสามารถใช้งานได้บางส่วนมาดัดแปลง ยุบรวม หรือแยกชิ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังมีการขายพัสดุที่ยังสามารถใช้งานได้ โดยวิธีทอดตลาด เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจำหน่ายพัสดุโดยวิธีแปรสภาพหรือทำลาย