1. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับโรงพยาบาลนครปฐม จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลนครปฐม (คลินิกหมอครอบครัว) ภายในมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นการให้บริการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาแก่นักศึกษา บุคลากร และประชนทั่วไปโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.00 – 16.00 น. ทั้งในและนอกสถานบริการ พร้อมทั้งมีการให้คำปรึกษาด้านรักษาพยาบาล ให้คำปรึกษาด้านวัยรุ่น ปัญหาทางเพศ สุขภาพจิต ด้านโภชนาการ และการดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งบริการส่งต่อสู่โรงพยาบาลในกรณีทีเกินศักยภาพ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไปมีสุขภาพกายที่ดี เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป
2. คลินิก Happy Life บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ
ตัวชี้วัดย่อย 3.3.5 การดูแลด้านสุขภาพจิต
คลินิก Happy Life บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับ กองพัฒนานักศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ โรงพยาบาลนครปฐม เปิดให้บริการคลินิก HAPPY LIFE ให้บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และนัดหมายพบแพทย์ ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จากโรงพยาบาลนครปฐม โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้คำปรึกษาทุกวัน นอกจากนั้นยังรับปรึกษาปัญหาชีวิตด้านต่าง ๆ แบบออนไลน์ และมีห้องให้คำปรึกษาที่จัดตั้งในคณะพยาบาลศาสตร์ ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมโดยการนัดหมายกันล่วงหน้า
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ชุมชนท้องถิ่น
เพื่อพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และนำความรู้ วิทยาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมภายใต้วัฒนธรรมความเป็นไทย และสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ยกระดับรายได้ครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายการพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ โดยยกระดับรายได้ หรือลดค่าใช้จ่าย โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เช่น พัฒนาอาชีพ
ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่ายในครัวเรือน หรือลดต้นทุนการผลิตได้อย่างยั่งยืน
1. ขั้นตอน กระบวนการ และกิจกรรมที่เสริมหนุนต่อยอดในชุมชนท้องถิ่น
1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ให้กับคณะทำงานและผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้รับทราบแผนการดำเนินงานและแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกัน รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโครงการและการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 การลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนเชิงประจักษ์ในหมู่บ้านเป้าหมาย โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะกับผู้ใหญ่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้นำหมู่บ้านได้ชี้เป้าหมายครัวเรือนที่ควรได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และสอบทานข้อมูลรายครัวเรือน โดยการเยี่ยมบ้านและสัมภาษณ์
1.3 วิเคราะห์ปัญหาของครัวเรือนเป้าหมาย พบว่า เป็นผู้มีรายได้น้อยประกอบอาชีพอาชีพรับจ้างทั่วไป (ตามฤดูกาล) และได้รับผลกระทบจาก COVID-19
1.4 การพัฒนาโครงการ คณะทำงานได้ออกแบบกิจกรรมและดำเนินการพัฒนาโครงการ ดังนี้
1.4.1 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากด้วยกิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัย งานสัมมาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในระดับครัวเรือน รับผิดชอบโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4.2 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รับผิดชอบโดยคณะพยาบาลศาสตร์
1.4.3 โครงการการจัดอีเว้นโดยชุมชนเพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ รับผิดชอบโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1.5 การดำเนินโครงการ ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – สิงหาคม 2564 ในการขับเคลื่อนกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของครัวเรือนเป้าหมาย
1.6 การติดตามการดำเนินงาน โดยการลงพื้นที่ติดตามรายครัวเรือน และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ
1.7 การประเมินผลครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการโดยการเก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ
2. กิจกรรมที่หนุนเสริมในชุมชนท้องถิ่น ดังนี้
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยสมาชิกครัวเรือนร่วมดำเนินการ และบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ด้วยการให้นักศึกษาร่วมเรียนรู้และปฏิบัติงาน โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ประกอบด้วย
2.1 กิจกรรมลดรายจ่าย ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาให้ครัวเรือนมีแหล่งอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน ลดรายจ่ายค่าอาหารในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำ “ซุ้มเห็ดแก้จน” ด้วยแนวคิด “มีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้เสริม” ในพื้นที่บริเวณบ้านที่มีจำกัด และสมาชิกในครัวเรือนสามารถทำได้ง่าย
2.2 กิจกรรมเพิ่มรายได้ ได้แก่ การเพาะถั่วงอกยกระดับรายได้ให้กับครัวเรือน การผลิตผักปลอดภัย การเลี้ยงไก่ไข่พัฒนาแหล่งอาหารโปรตีนในครัวเรือน
2.3 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การให้ความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้
3. ผลการดำเนินการข้อมูลเชิงประจักษ์ในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนการดำเนินการพัฒนา
จากการดำเนินงานกิจกรรมยกระดับรายได้ครัวเรือนของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายการพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ โดยกิจกรรมมีการหนุนเสริมทำให้ครัวเรือนมีแหล่งผลิตพืชผักและอาหารปลอดภัยในครัวเรือน นำไปสู่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 132 ครัวเรือน จากการเก็บข้อมูลพบว่า มีครัวเรือนจำนวน 118 ครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 หรือสามารถลดรายจ่ายได้อย่างน้อยร้อยละ 10 โดยครัวเรือนดังกล่าวสามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน สำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
4. จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ 118 ครัวเรือน
4. นิทรรศการ RAINS for Western Food Valley 2563
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดแสดงนิทรรศการ RAINS for Western Food Valley 2563 การพัฒนานวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กในภูมิภาคตะวันตกในรูปแบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรเป็นประธานเปิดงานการสัมมนา
โดยการจัดงานครั้งนี้ ร่วมมือของ 3 มหาวิทยาลัย ที่ได้บูรณาการใน การนำเอาองค์ความรู้จากงานวิจัยมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคตะวันตก ซึ่งเป็น พื้นที่หลักในการผลิตสินค้าทางการเกษตร ผ่านแผนงานวิจัย RAINS for Western Food Valley 2563 เข้าไปรวมกับกลไกภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ตามนโยบายประชารัฐเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ร่วมกันขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งทำให้เกิดการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย เกิดการซื้อวัตถุดิบในท้องถิ่น และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการทำงานของแรงงานท้องถิ่นซึ่งเป็นการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยมีเป้าหมายของพื้นที่ภูมิภาคตะวันตกอย่างยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ร่วมจัดงาน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี พาณิชย์จังหวัด พัฒนาการชุมชนจังหวัด เกษตรจังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทั้ง 8 จังหวัด และผู้ประกอบการ
5. ปฏิบัติการเจาะเลือดตรวจหาระดับผลภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครปฐม
ปฏิบัติการเจาะเลือดตรวจหาระดับผลภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครปฐม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม นำนักศึกษาพยาบาลลงพื้นที่ โดยเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ในการเจาะเลือดตรวจหาระดับผลภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ต้องขัง ในวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2564 ณ เรือนจำกลางนครปฐม ร่วมมือระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้มีผู้เข้ารับการเจาะเลือด จำนวน 1,100 ราย
6. การศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเปิดโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) ในปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยมีสาขาวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบันทั้งหมด 11 สาขาวิชา ได้แก่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
4. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
5. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
6. สาขาวิชานิติศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
7. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
8. สาขาวิชาการตลาด
9. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
10. สาขาวิชาการบัญชี
11. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการจัดการศึกษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว และมีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี มาเรียนต่อยอด เป็นทางเลือกให้ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบ หรือผู้ที่มีภาระการทำงานแล้ว ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. บุคลากร จำแนกตามประเภท และเพศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงและการได้รับสิทธิ์ หน้าที่ และโอกาสที่เท่าเทียมกันของบุคลากรทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และกลุ่มบุคคลผู้มีความหลากลายทางเพศ ทั้งในระดับผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
8. โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล
ในวันที่ 29 มีนาคม 2564 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมการประชุมโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้าน น้ำบาดาล เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ในหัวข้อ “แนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาลเพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบด้านการบริหาร จัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน”
9. การให้บริการน้ำดื่มสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดบริการตู้กดน้ำดื่มฟรี เพื่อให้บริการกับนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามอาคารและตึกเรียนต่างๆ
10. การบริหารจัดการน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดรถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
การบริหารจัดการ การเดินรถ มีจุดมุ่งหมายในการลดมลภาวะจากการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย จึงได้มีโครงการ นำรถไฟฟ้า (Electric Shuttle BUS) ในการรับ-ส่ง นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีรายละเอียดการให้บริการ คือ มีรถไฟฟ้าจำนวน 2 คัน สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้สูงสุด 22 ที่นั่ง/คัน วิ่งให้บริการรอบมหาวิทยาลัย ผ่านอาคาร และสถานที่สำคัญต่างๆ จำนวน 18 จุดจอด (Bus Stop) โดย 1 รอบมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะเวลาต่อรอบประมาณ 15 นาที ให้บริการในวันทำการ ตั้งแต่ 10.00 - 13.30 น. ใน 1 วัน มีจำนวน trips ทั้งหมด = 28 trips per day หรือคิดเป็นระยะทางทั้งหมด 56 kilometers per day และมีผู้โดยสารเฉลี่ย 120 คนในวันทำการ (person on weekday)
12. การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เครื่องใช้ประหยัดพลังงานรวมถึงระบบไฟ LED และเครื่องปรับอากาศที่มีใบรับรอง Label No.5 ใช้สำหรับอาคารใหม่ทั้งหมด สำหรับอาคารเก่า เครื่องใช้ทั่วไปได้ถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น ระบบไฟ LED เครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ได้รับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาเป็นประจำ ในขณะที่เครื่องเก่ามีการเปลี่ยนใหม่ จากวิธีการดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานแล้ว โดยแทนที่อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วร้อยละ 26.32 ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงานใหม่
บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร ETB มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับจ่ายพลังงานให้กับระบบไฟส่องสว่างและเครื่องชาร์จในห้องปฏิบัติการไฟฟ้า (ETB 406) กำลังการผลิตรวมของระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์คือ 3.96 กิโลวัตต์ ระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ทำงาน 5.23 [1] ชั่วโมงต่อวัน และ 240 วันต่อปี แผงโซลาร์เซลล์มี 0.7 [2] ปัจจัยลดอัตราผลตอบแทนของพลังงาน (EF) กำลังผลิตไฟฟ้า 3.96 x 5.23 x 240 x 0.7 = 3,479.41 kWh/ปี
13. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญาภา ยืนยาว ผู้จัดการตำบลทุ่งลูกนก และคณะทำงานหน่วยยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ให้กับผู้นำชุมชนตำบลทุ่งลูกนก ได้แก่ ปลัด อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการร่วมขับเคลื่อนโครงการเป็นอย่างดี
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในฐานะผู้จัดการโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย พร้อมทีมงานหน่วยยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ในพื้นที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม พร้อมกันนี้ได้ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมายเพื่อการพัฒนา ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน แกนนำในชุมชน และผู้รับจ้างงาน เพื่อออกแบบกิจกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
วันที่ 31 มีนาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในฐานะผู้จัดการโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ในพื้นที่ตำบลท่าตำหนัก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พร้อมกันนี้ได้ร่วมหารือแนวทางการออกแบบกิจกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจาก Tambon profile และข้อมูลทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและแกนนำในชุมชน พร้อมกันนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะ กระบวนการทำงานและนิเทศการปฏิบัติงานของผู้รับการจ้างงานทุกคน
14. การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานบริหารทรัพยากรบุคลากร พ.ศ. 2562 – 2566 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและสัวสดิการด้านต่างๆให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่างๆ ดังนี้
1. ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าเล่าเรียนบุตร
2. ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานมหาวิทยาลัยและบุคลากร
3. ประกาศ เรื่อง การยื่นความประสงค์ขอเข้าพักอาศัยในที่พักของมหาวิทยาลัย
4. ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จพนักงานมหาวิทยาลัยและบุคลากร
5. ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การจ่ายเงินเบี้ยประสุขภาพแบบกลุ่ม
15. ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย ระบบดังกล่าวทำหน้าที่ในการวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย โดยข้อมูล update ทุกๆ 5 นาที ผ่านหน้า dashboard แบบ real-time แสดงภาพรวมการใช้พลังงานไฟฟ้ารายอาคารโดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ การใช้พลังงานเฉลี่ยในแต่ละวันของสัปดาห์ การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายชั่วโมง และค่า Power Factor ของแต่ละอาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการวางแผนและออกนโยบายการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย เช่น การปรับปรุงค่า Power Factor ของอาคารให้เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงาน การออกนโยบายช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
16. อาคารอนุรักษ์พลังงาน “อาคารสิริวรปัญญา” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคาร "สิริวรปัญญา" เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 4,804 ตารางเมตร เพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอน, การบริการทางวิชาการ, และการประชุมสัมมนา อาคารดังกล่าว ยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ "แบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน" ระดับดีมาก จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
17. ระบบความปลอดภัยภายในอาคารของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
18. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมตะหนักถึงความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยได้มีการรับสมัครพนักงาน และนักศึกษา ที่เป็นบุคคลทุพพลภาพให้มีงานทำและสามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ โดยมหาวิทยาลัยมีการจ้างงานผู้พิการ จำนวน 8 คน
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆให้กับผู้พิการ เช่น ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ ทางเดิน ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ
19. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยจัดที่พักอาศัยให้เป็นสวัสดิการของบุคลากรมหาวิทยาลัย เช่น อาคารเฟื่องฟ้าอพาร์ทเมน อาคารที่พักลูกจ้าง คนงาน
20. การให้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ใช้บริการทุกท่านสามารถติดต่อขอรับบริการจากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ดังนี้
ชั้น 1 บริการยืม-คืนหนังสือ บริการมุมอ่านหนังสือพิมพ์ มุมหนังสือใหม่ นิทรรศการ บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
ชั้น 2 บริการวารสาร หนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบันและล่วงเวลา จุลสาร กฤตภาค กฤตภาคออนไลน์ (News Clipping Online)
ชั้น 3 บริการพื้นที่นั่งอ่านแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม บริการหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน บริการฉายการ์ตูนสำหรับเด็ก
ชั้น 4 บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการหนังสืออ้างอิงภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ชั้น 5 บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการห้องประชุมกลุ่มย่อย ห้องบัวหลวง, ห้องบานบุรี, ห้องราชพฤกษ์ บริการนิทรรศการ
ชั้น 6 บริการโสตทัศนวัสดุ, โสตทัศนูปกรณ์ ห้องชมโทรทัศน์ ระบบ VDO on-demand ด้วยหูฟังไร้สาย, ห้องคาราโอเกะ, ห้องมินิเธียเตอร์
ชั้น 7 หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย มุมทวารวดี มุมศาสตร์พระราชา บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการเกมส์กระดาน ฝึกทักษะพัฒนาสมอง
21. นักศึกษาและบุคลากรไร้ E-Waste
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับมอบถังขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากตัวแทนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 พร้อมรณรงค์ชวน “นักศึกษาและบุคลากร ไร้ E-Waste” เพื่อช่วยลดปริมาณคาร์บอน และรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ หูฟัง สายชาร์จ และเพาเวอร์แบงค์ เข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี ณ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
22. ระบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยได้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ซึ่งสามารถวัดปริมาณของ ฝุ่นละอองในอากาศ (PM 2.5 , PM10) อีกทั้งสามารถวัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาพอากาศได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ผ่านทางเซนต์เซอร์ตรวจจับ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของอากาศโดยรวม โดยจัดเก็บลงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ จากนั้นทำการนำเอาข้อมูลที่จัดเก็บได้มาสร้างโมเดลสำหรับการพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศโดยอาศัยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล นอกจากนั้นได้กทำระบบแจ้งเตือนภัยเมื่อมีการตรวจพบหรือพยากรณ์ ว่าสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน
23. การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
24. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาสื่อเรียนรูปพรรณพืชสมุนไพรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้รับพระราชานุญาติให้เข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 และได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระยะ 5 ปี (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีการจัดกิจกรรมโดยดำเนินงานตามแผนในกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ในกิจกรรมย่อยฐานข้อมูลการดำเนินงานหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริกิจกรรมย่อยฐานข้อมูลทรัพยากรในท้องถิ่น และกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศให้แก่เยาวชนต่อไป
ทั้งนี้ พืชสมุนไพรและพรรณไม้สมุนไพรมีหลายร้อยชนิด ซึ่งพืชสมุนไพรหลายชนิดเป็นพืชที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน และมีคุณค่าทางสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น หากสามารถนำมาพัฒนาเป็นสื่อการเรียนรู้ให้นักเรียนระดับประถมศึกษาได้เรียนรู้จนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพร จะทำให้เยาวชนรู้ถึงคุณค่าของสมุนไพรรอบตัวและเกิดความรู้สึกอยากอนุรักษ์พรรณพืชด้านสมุนไพรด้วยตนเอง จึงมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมพัฒนาสื่อเรียนรู้พรรณพืชสมุนไพรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อเรียนรู้พรรณพืชสมุนไพรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่รวมข้อมูลพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เผยแพร่สื่อเรียนรู้พรรณพืชสมุนไพรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ให้กับโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
รูปแบบกิจกรรม
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลพรรณพืชสมุนไพรรอบตัวเพื่อนำมาออกแบบสื่อเรียนรู้พรรณพืชสมุนไพรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ดำเนินการพัฒนาสื่อเรียนรู้พรรณพืชสมุนไพรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย เนื้อหาเกี่ยวกับพรรณพืชสมุนไพร กิจกรรมเสริมความเข้าใจ และแบบทดสอบวัดความเข้าใจ ดำเนินการเผยแพรสื่อเรียนรูปพรรณพืชสมุนไพร ให้กับโรงเรียนระดับประถมศึกษา
25. การบริหารจัดการการกำจัดของเสียภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีนโยบายในการจัดการของเสียที่จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งมีบริการจุกทิ้งขยะอันตรายทั่วทั้งมหาวิทยาลัย
26. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้รับคะแนนการประเมิน ITA ระดับ C ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ความสำคัญในเรื่องของคุณธรรม ความโปร่งใส และการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล อันประกอบไปด้วย หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มหาวิทยาลัยจึงได้เข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้คะแนน 72.45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่ในระดับ C
27. สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยการจัดตั้งสโมสรนักศึกษาของแต่ละคณะ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักศึกษา ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมขององค์การนักศึกษา
- ข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา