1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น
ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.2 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เครื่องใช้ประหยัดพลังงานรวมถึงระบบไฟ LED และเครื่องปรับอากาศที่มีใบรับรอง Label No.5 ใช้สำหรับอาคารใหม่ทั้งหมด สำหรับอาคารเก่า เครื่องใช้ทั่วไปได้ถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น ระบบไฟ LED
เครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ได้รับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาเป็นประจำ ในขณะที่เครื่องเก่ามีการเปลี่ยนใหม่ จากวิธีการดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานแล้ว โดยแทนที่อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วร้อยละ 26.32 ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงานใหม่
บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร ETB มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับจ่ายพลังงานให้กับระบบไฟส่องสว่างและเครื่องชาร์จในห้องปฏิบัติการไฟฟ้า (ETB 406) กำลังการผลิตรวมของระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์คือ 3.96 กิโลวัตต์ ระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ทำงาน 5.23 [1] ชั่วโมงต่อวัน และ 240 วันต่อปี แผงโซลาร์เซลล์มี 0.7 [2] ปัจจัยลดอัตราผลตอบแทนของพลังงาน (EF) กำลังผลิตไฟฟ้า 3.96 x 5.23 x 240 x 0.7 = 3,479.41 kWh/ปี
3. นโยบายการเลิกกิจการ
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.6 นโยบายการเลิกกิจการ
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4. ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการลดปริมาณการใช้กระดาษ เพื่อลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรและค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม จึงได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสารเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการจัดเก็บและดำเนินการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เอกสารออนไลน์ อีเมล และข้อมูลสำคัญภายในองค์กร ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดทำระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) มาใช้ในการปฏิบัติงานด้านธุรการและงานสารบรรณ
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนให้มีการนำกระดาษที่ใช้แล้ว มา Recycle เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษตระหนักถึงความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน
ประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการใช้งาน ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) พ.ศ. 2561
5. ห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตระหนักถึงความสำคัญและความรับผิดชอบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำห้องสมุดสีเขียว ตามแนวทางความยั่งยืนและมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2558 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดมาตรการการประหยัดไฟฟ้า การใช้น้ำประปา และการจัดการขยะ รวมถึงการใช้ทรัพยากร เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาไปสู่ห้องสมุดสีเขียว
ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดบคำนึงถึงประเด็นความท้าทายในด้านต่าง ๆ ความคาดหวังที่สังคมมีต่อมหาวิทยาลัย แนวนโยบายแห่งรัฐ แผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล แนวนโยบายต่าง ๆ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดตามกรอบแผนพัฒนาระยะยาวของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2565 – 2568 ซึ่งได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียวอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการ มีความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดเพิ่มเติม ห้องสมุดสีเขียว
6. ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมมือกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เพื่อปรับปรุงระบบน้ำโดยใช้ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นฐานการเรียนรู้สำหรับการจัดการน้ำ ผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Lighting Systems) ทําให้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เหมาะสำหรับสนับสนุนกิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่างๆ ให้กับชุมชน
7. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
มหาวิทยาลัยมีการสร้างระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร
ภายในมหาวิทยาลัยได้ทุกอาคาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบได้ว่ามีไฟค้างหรือไม่ ทำให้มหาวิทยาลัย
สามารถบริหารจัดการการใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีระบบตรวจวัดการใช้พลังงานตามอาคาร เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร เพื่อนำมาวิเคราะห์และบริหารจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
8. โครงการนวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมชุดสีธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อสิ่งทอชุมชน
สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการนวัตกรรมชุดสีธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อสิ่งทอชุมชน ได้มีการดำเนินการใน 5 กิจกรรม ดังนี้
1. ในระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2566 ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างนวัตกร (Innovator) ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาสีธรรมชาติย้อมเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน
2. ในระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2566 ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างนวัตกร (Innovator) ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติงานพิมพ์เส้นใยธรรมชาติ
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ได้พัฒนา นวัตกร (Innovator) ในพื้นที่ ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการ นวัตกรรมพัฒนาสีธรรมชาติย้อมเส้นใยธรรมชาติ เพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน
2. ได้พัฒนา นวัตกร (Innovator) ในพื้นที่ ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติงานพิมพ์เส้นใยธรรมชาติ
9. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์กันยุงโดยใช้เปลือกส้มโอ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการจัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2566 เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ในชุมชนทรงคะนองเป็นชุมชนที่มีส้มโอเป็นผลิตผลทางการเกษตรหลัก ทั้งนี้เกษตรกรมีการจำหน่ายทั้งการขายส่งให้กับนายทุนเจ้าใหญ่ และขายปลีกตามสถานที่ต่าง ๆ ค่อนข้างมาก จากการจำหน่ายดังกล่าวทำให้มีขยะจากผลิตผลทางการเกษตร คือ เปลือกส้มโอเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางชุมชนมีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกส้มโอเหลือใช้ ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์กันยุงโดยใช้เปลือกส้มโอ ในวันที่ วันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดย อาจารย์ ดร.กัญญา สอนสนิท ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการอบรมดังกล่าว
10. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.4 การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
1. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
11. เข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings
มหาวิทยาลัยเข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings ซึ่งเป็นการวัดและจัดอันดับโดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia : UI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นการจัดอันดับสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบกิจกรรมของมหาวิทยาลัยในการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการบูรณาการไปกับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นสีเขียว โดยใช้หลักการ 3E คือ Environment, Economics, Equity and Education โดยประกอบไปด้วยเกณฑ์ 6 ด้าน คือ
1. Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
2. Energy and Climate Change (พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
3. Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
4. Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
5. Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
6. Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%
ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งในสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และ รักษาพลังงานอย่างยั่งยืน
เว็บไซต์ ์ : NPRU UI GreenMetric
12. คณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อดำเนินการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายอนุรักษ์พลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่กำหนดขึ้น
2. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวิธีการจัดการพลังงาน รวมทั้งจัดการอบรมหรือกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน
3. เพื่อควบคุมดูแลให้วิธีการจัดการพลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้กับเจ้าของอาคาร/ผู้บริหารระดับสูงรับทราบ
5. เพื่อทบทวนนโยบายอนุรักษ์พลังงานและการจัดการพลังงานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและวิธีการจัดการพลังงานให้เจ้าของอาคาร/ผู้บริหารระดับสูงพิจารณา
รายละเอียด : คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
13. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
14. โครงการติดตั้งระบบโซลาเซลล์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
โครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์
งานอาคารสถานที่ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ดำเนินการโครงการและนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานสะอาดทดแทน มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยฯ มีแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย โดยได้มีการดำเนินโครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์ เพื่อพัฒนาพลังงานและความยั่งยืน
1. ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดซื้อระบบโซลาเซลล์
2. การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ของส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
15. มาตรการประหยัดพลังงาน
มาตรการประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น มาตรการประหยัดไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำมัน มาตรการลดค่าใช้โทรศัพท์ มาตรการลดค่าไปรษณีย์ มาตรการประหยัดน้ำประปา การลดใช้พลาสติก
16. อาคารอนุรักษ์พลังงาน “อาคารสิริวรปัญญา” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคารอนุรักษ์พลังงาน “อาคารสิริวรปัญญา” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคาร "สิริวรปัญญา" เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 4,804 ตารางเมตร เพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอน, การบริการทางวิชาการ, และการประชุมสัมมนา อาคารดังกล่าว ยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ "แบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน" ระดับดีมาก จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
17. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดรถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดรถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการการเดินรถ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดมลภาวะจากการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย จึงได้มีโครงการนำรถไฟฟ้า (Electric Shuttle BUS) ในการรับ-ส่ง นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีรายละเอียดการให้บริการ คือ มีรถไฟฟ้าจำนวน 2 คัน สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้สูงสุด 22 ที่นั่ง/คัน วิ่งให้บริการรอบมหาวิทยาลัย ผ่านอาคาร และสถานที่สำคัญต่างๆ จำนวน 18 จุดจอด (Bus Stop) โดย 1 รอบมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะเวลาต่อรอบประมาณ 15 นาที ให้บริการในวันทำการ ตั้งแต่ 10.00 - 13.30 น. ใน 1 วัน มีจำนวน trips ทั้งหมด = 28 trips per day หรือคิดเป็นระยะทางทั้งหมด 56 kilometers per day และมีผู้โดยสารเฉลี่ย 120 คนในวันทำการ (person on weekday)
18. โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้พลังงานโดยรวมของมหาวิทยาลัย เช่น การสนับสนุนให้ใช้หลอดประหยัดพลังงาน LED ในทุกอาคารของมหาวิทยาลัย
ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เรื่อง ประกวดราคาซื้อหลอดประหยัดพลังงาน LED โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
https://news.npru.ac.th/u_news/news_detail.php?news_id=6806
19. สำนักงานสีเขียว
สำนักงานสีเขียว
ตามยุทธศาสตร์สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวชี้ัวัด 4.2 การดำ เนินงานสำนักงานสีเขียว (Green office) ภายในสำนักงานอธิการบดี นั้น สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ตระหนักถึงการเสริมสร้างสำ นกงานสีเขียว สนับสนุนการบริหารจัดการ
สิ่งแวดล้อม เฉพาะกลุ่มสำนักงานอธิการบดี เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบุคลากรในสำนักงานลดการใช้พลังงานและริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้ความเข้าใจในการบริการจัดการทรัพยากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายในสำนักงานอธิการบดี จึงได้จัดทำ คู่มือสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
http://president.npru.ac.th/president2/pdf/25651011-greenUni1.pdf
20. ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย ระบบดังกล่าวทำหน้าที่ในการวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย โดยข้อมูล update ทุกๆ 5 นาที ผ่านหน้า dashboard แบบ real-time แสดงภาพรวมการใช้พลังงานไฟฟ้ารายอาคารโดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ การใช้พลังงานเฉลี่ยในแต่ละวันของสัปดาห์ การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายชั่วโมง และค่า Power Factor ของแต่ละอาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการวางแผนและออกนโยบายการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย เช่น การปรับปรุงค่า Power Factor ของอาคารให้เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงาน การออกนโยบายช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
21. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับการเข้าร่วม UI GreenMetric
แผนยุทธศาสตร์สำนักงานอธิการบดี กับการเข้าร่วม UI GreenMetric
มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์สำนักงานอธิการบดีเพื่อเข้าสู่การจัดอันดับ UI Green Metric World University Ranking มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับ UI Green Metric 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อยู่ที่อันดับ 566 ของโลก
อยู่ในอันดับที่ 37 ของประเทศ
อยู่อันดับที่ 8 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
#NPRU #มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม #UIGreen
ได้รับคะแนนจากการประเมิน 6 ด้านที่ 6,150 คะแนน
จากการสำรวจของ UI Green Metric World University Ranking 2023 โดย University of Indonesia (UI)
22. การใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย
รายงานการจัดการพลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประจำปี 2566
รายละเอียดเพิ่มเติม : เล่มรายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2566