1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น
ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ
2. บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.2 บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อร่วมทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิต พัฒนางานวิชาการและงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อให้มีการริเริ่มและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสรุปได้ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมประชุมกับศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตามที่มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) ทาง SDSN THAILAND ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ประจำปี 2565 และร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานในปัจจุบันของสมาชิกแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งร่วมปรึกษาหารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายฯ ในวันที่ 19 พฤกษาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Online
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 รูปแบบออนไลน์
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World” ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย นำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศฯ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ : กรณีศึกษา การผลิต และพัฒนากำลังคนรองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corrider: EEC) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้กับประธานสาขาวิชาหรือตัวแทนสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รายละเอียดเพิ่มเติม
3. การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.4 การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)
มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking
มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมการจัดอันดับ Times Higher Education Impact Ranking ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking โดยให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะทำงานดังกล่าวฯ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการรายงานการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2564
มหาวิทยาลัยจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย วันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประชุมเพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม
4. การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (โครงการวิจัย)
ตัวชี้วัด 17.2 ความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.2.5 การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการวิจัย
1. การส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทางการแพทย์ ไอสยาม ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชน ในการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายได้ ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นฝ่ายสนับสนุนให้มีการพัฒนาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาในชุมชน และสถานศึกษา ทั้งนี้ฝ่ายวิสาหกิจชุมชนจะเป็นฝ่ายสนับสนุนทางด้านวิทยากร บรรยายความรู้ และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกัญชา รวมถึงด้านวัตถุดิบสำหรับใช้ในการพัฒนางานวิจัย รายละเอียดเพิ่มเติม
2. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย Flagship ประจำปี 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย Flagship ประจำปี 2565 และจาก กองทุนส่งเสริม ววน. ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 3) รูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (Full Proposal) ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ผ่านกระบวนการให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้านของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ได้มีการบรรยายเรื่อง "การบริหารจัดการขอทุนอุดหนุนการวิจัย Basic Research Fund ประจำปีงบประมาณ 2566" รายละเอียดเพิ่มเติม
3. การเข้าร่วมงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2565 (Thailand Research Expo 2022
รศ.ดร.จักรพงษ์ แก้วขาว นำทีมนักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากศูนย์วิจัยแห่งความเป็นเลิศทางด้านแก้วและวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “The United Nations International Year of Glass 2022” ซึ่งได้รวบรวมผลงานวิจัยทางด้านแก้วในหัวข้อต่างๆ จุดประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำมาพัฒนาและปรับปรุงงานวิจัยให้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม
4. การบรรยายในหัวข้อ Glass Scintillator from Ln3+ Doping and Recent Development
รศ. ดร. จักรพงษ์ แก้วขาว ได้รับเชิญให้เป็น invited speaker บรรยายในหัวข้อ Glass Scintillator from Ln3+ Doping and Recent Development รวมไปถึง รศ. ดร .ภัทรวจี ยะสะกะ ผศ. ดร. ปิยะชาติ มีจิตรไพศาล ผศ.ดร.วุฒิชัย ไชยภักษา และ นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จาก Center of Excellence in Glass Technology and Materials Science (CEGM), NPRU สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในงาน The 4th International Conference on Radiation and Emission in Materials (ICREM) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 เมษายน 2565 ณ โรงแรม Pullman พัทยา ชลบุรี
5. จำนวนนักศึกษาทั้งหมด ปีการศึกษา 2565
ตัวชี้วัดที่ 1.2 สัดส่วนของนักศึกษาที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเพราะความยากจน
ตัวชี้วัดย่อย 1.2.1 จำนวนนักศึกษาทั้งหมด
ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีนักเรียน นักศึกษา จำนวน 15,284 คน จำแนกตามหน่วยงาน และระดับการศึกษา
- จำนวนนักศึกษาขาดแคลนที่ได้รับทุนการศึกษา
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดสรรทุนการศึกษาและได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา จำนวน 269 คน โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาภายในและภายนอก ดังนี้
ทุนการศึกษาภายใน จำนวน 215 คน ประกอบด้วย
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ภายใต้โครงการการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 มีผลการพิจารณาทุนการศึกษาจำนวน 140 ราย โดยนักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และได้รับค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท รายละเอียดทุน
2. ทุน 84 พรรษา เป็นทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาภาคปกติ เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีนักศึกษาได้รับทุนการศึกษา จำนวน 19 ราย รายละเอียดทุน
3. ทุนการศึกษานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และเป็นคนดี จำนวน 48 ราย รายละเอียดทุน
4. กองทุนเพื่อการศึกษาและการพัฒนาบุคลิกภาพ จำนวน 8 ราย รายละเอียดทุน
ทุนภายนอก จำนวน 54 ทุน ประกอบด้วย
1. ทุนพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีความประพฤติดี เรียนดี แต่ขัดสนทุนทรัพย์ ประจำปี 2565 จำนวน 1 ราย
2. ทุนพระราชทานช่วยเหลือการศึกษาเด็กยากจน ด้วย สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบทุนพระราชทานช่วยเหลือการศึกษาเด็กยากจน ประจำปี 2565 ให้กับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 1 ราย
3. ทุนการศึกษา อผศ. จำนวน 1 ราย
4. ทุนการศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับสถาบันการศึกษาเครือข่าย เพื่อมอบโอกาสให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความประพฤติดี มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 1 ราย
5. ทุนมูลนิธิองค์พระปฐมเจดีย์ ได้มอบทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 3 ราย
6. ทุนมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง ได้มอบทุนการศึกษาได้มอบทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 8 ราย
7. บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มอบทุนการศึกษาแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้กับนักศึกษาที่ช่วยงานกิจการการศึกษา/จิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน โดยให้อยู่ในดุลพินิจของกองพัฒนานักศึกษา จำนวน 10 ราย
8. ทุนมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯเพื่อเยาวชนในพระบรมราชานูปถัมภ์ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 2 ราย
9. ทุนบริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลน จำนวน 1 ราย
10. ทุนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานค่าใช้จ่ายแก่นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ ปีการศึกษา 2565 เพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 4 ราย
11. ทุนสมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารี (ม.ท.ศ.) จำนวน 9 ราย
12. ทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจารณาทุนพระราฃทานเพื่อการศึกษาสงเคราะห์ ในการช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 1 ราย
13. ทุนมูลนิธิทิสโก้ เพื่อการกุศลได้มอบทุนการศึกษาเพื่อการกุศล ได้ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 1 ราย
14. ทุนมูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ได้ดำเนินโครงการ “ทุนส่งน้องเรียนจบ” ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ความช่วยเหลือนักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 1 ราย
15. ทุนมูลนิธิช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ม.น.ข.) ได้มอบทุนการศึกษาพระราชทาน “นวฤกษ์” และทุน “ม.น.ข.” ซึ่งเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องที่มอบให้นิสิต นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ได้รับการศึกษาต่อตามควรแก่ศักยภาพ จำนวน 2 ราย
16. ทุนชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 ราย
17. ทุนสานฝันการกีฬา จำนวน 1 ราย
18. ทุนเฉลิมราชกุมารี จำนวน 7 ราย
6. การรับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน
ตัวชี้วัดที่ 1.3 โครงการขจัดความยากจนของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดย่อย 1.3.1 การรับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน
1. โครงการการสนับสนุนทุนการศึกษา
ในปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินโครงการการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียน อยู่ 2 ประเภท คือ การให้ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 และการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และเป็นคนดี ประจำปีการศึกษา 2565
1) การให้ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่เข้าใหม่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 140 ทุน โดยให้ทุนสนับสนุนเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายรายภาคตลอดปีการศึกษา และสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท
2) การให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และเป็นคนดี ประจำปีการศึกษา 2565 ให้ทุนสนับสนุนจำนวน 48 ทุน พิจารณาจากความประพฤติและรายได้ของครอบครัว โดยให้ทุนสนับสนุนเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายรายภาคตลอดหลักสูตร
2. ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ DSS NPRU
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปิดศูนย์ให้บริการนักศึกษาพิการหรือ DSS ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลเรื่องต่างๆ หรือสวัสดิการให้กับนักศึกษาพิการ เช่น การให้คำปรึกษาต่างๆ หรือ ดูแลด้านทุนการศึกษา โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาพิการที่เข้ารับการศึกษา จำนวน 7 คน
7. การสนับสนุนนักศึกษาที่มีรายได้น้อย
ตัวชี้วัดที่ 1.3 โครงการขจัดความยากจนของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดย่อย 1.3.3 การสนับสนุนนักศึกษาที่มีรายได้น้อย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้การสนับสนุนนักศึกษาที่อยู่ในครัวเรือนยากจน เพื่อให้สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้ ดังนี้
1. ศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดตั้งศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยจัดสถานที่ บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น Website เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร ให้บริการในการติดต่อประสานงาน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับนักศึกษาในการจัดทำเรื่องการกู้ยืมเพื่อการศึกษา
2. รถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีรถบริการรับ-ส่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับ-ส่ง ผู้โดยสารไม่ว่าจะเป็น นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการลดจำนวนการใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์สัญจรภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการจราจร และมลพิษภายในมหาวิทยาลัยตามมา
8. โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาขาดแคลนคุณทรัพย์จากการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565
ตัวชี้วัดที่ 1.3 โครงการขจัดความยากจนของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดย่อย 1.3.4 การสนับสนุนนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน
โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาขาดแคลนคุณทรัพย์จากการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยกองพัฒนานักศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมนิสิต นักศึกษา ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ด้วยการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในการพึ่งพาตนเองให้แก่นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงาน รับผิดชอบตนเอง รู้จัดค่าของเงิน และรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงเวลาที่กำลังศึกษาอยู่ นอกจากนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนคุณทรัพย์และต้องการหารายได้ระหว่างเรียนให้สามารถทำงานที่เหมาะสมกับสถานภาพต่อไป ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ทั้งนี้ได้ให้นักศึกษาทำงานในคณะ สาขาวิชาหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยให้ปฏิบัติงาน ในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ช่วงเวลาว่างที่ไม่มีวิชาเรียน หรือช่วงปิดภาคเรียน ไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน ได้รับค่าตอบแทน 300 บาทต่อคน และครั้งวัน 3 ชั่วโมงครึ่ง ได้ค่าตอบแทน 150 บาทต่อคน ในวงเงินจำนวน 400,000 บาท ซึ่งกองพัฒนานักศึกษาเป็นหน่วยงานดำเนินการจัดส่งนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานและเบิกจ่ายค่าตอบแทนในการจ้างงานให้กับนักศึกษา
9. การให้ความช่วยเหลือ Local start-up
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.1 การให้ความช่วยเหลือ Local start-up
1. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม/ออนไลน์ (ตำบลหนองปากโลง) วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชนมายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนองปากโลง ในจังหวัดนครปฐม ได้สร้างผลิตภัณฑ์/นวัตกรรมให้กับชุมชน และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 สร้างผลิตภัณฑ์/นวัตกรรมให้กับชุมชน และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ข้าวคลุกกะปิชาววัง แบรนด์ ชวน CHUAN กลุ่มลูกค้า
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพรบำรุงปลาสวยงามทุกชนิด “ใบหูกวาง” แบรนด์ bb Bearberry Thailand
- ผลิตภัณฑ์/บริการ สมุนไพรบำรุงปลาสวยงามทุกชนิด “ใบหูกวาง”
- ผลิตภัณฑ์/บริการ น้ำสมุนไพรบำรุงปลาสวยงามทุกชนิด “น้ำใบหูกวาง” แบรนด์ bb Bearberry Thailand
- ผลิตภัณฑ์/บริการ กิ๊ปติดผมผ้าพื้นเมือง แบรนด์ DokKaew
2. โครงการถ่ายทอดอาชีพสู่ชุมชนในรูปแบบ YouTube
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการถ่ายทอดอาชีพสู่ชุมชนในรูปแบบ YouTube โดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคณาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า บุคลากร และบุคคลทั่วไป เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะสามารถดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ และเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยการผลิตสินค้าในชุมชน รายละเอียดเพิ่มเติม
10. การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน Local start-up
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.2 การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน Local start-up
- โครงการ GSB Innovation Club
ธนาคารออมสินเป็นองค์กรของรัฐ ซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับรัฐบาลได้วางรากฐานในการพัฒนาประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4.0 ธนาคาร จึงจำเป็นต้องสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ คือ นักศึกษา และเยาวชน ที่สนใจพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการ SMEs Startup ให้มีความเข้มแข็ง และตอบสนองนโยบายรัฐบาล พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจ SMEs Startup ให้สามารถดำเนินธุรกิจ และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างยั่งยืน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการ ที่สามารถดำเนินธุรกิจแนวใหม่ โดยการปลูกฝังตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็น Mass SME และ National Startup ได้ตามความมุ่งหวังของรัฐบาล และเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ SMEs Startup อย่างครบวงจร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs Startup จึงกำหนดจัดโครงการ GSB Innovation Club ภายใต้วิสัยทัศน์ การเป็นผู้นำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ SMEs Startup อย่างยั่งยืน โดยตั้งเป็น Co-Working Space ในมหาวิทยาลัย มีการกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาคิดค้นนวัตกรรม และสื่อสารผ่านช่องทาง Social Media โดยมุ่งให้การสนับสนุนกลุ่มคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจเริ่มธุรกิจ ให้มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ
กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย
1. กิจกรรม Innovation Club by GSB Startup
ธนาคารออมสิน ร่วมกับมหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง Innovation Club by GSB Startup เพื่อใช้เป็นสำนักงานในการติดต่อประสานงานและขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมและสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ
2. กิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup
ธนาคารออมสิน ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการใช้พื้นที่ Innovation Club by GSB Startup กำหนดจัดกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup โดยธนาคารออมสินจะกำหนดโจทย์รายเดือน เพื่อให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงาน และนำผลงานส่งเข้าประกวดเพื่อชิงทุนการศึกษา ซึ่งมีนักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาที่สนใจและได้จัดส่งผลงานเข้าประกวดมากมาย อาทิเช่น
11. การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เป็นการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยจัดกิจกรรมการจัดการดูแลพืชผักทางการเกษตร ในวันที่ 10 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์รักสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยอาจารย์ ดร.เกรียงไกร มีถาวรได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพืช (ผัก) และการป้องกันกำจัด โรคพืชคืออะไร มีสาเหตุจากอะไรบ้าง สาเหตุของโรคพืชจากสิ่งใด และเชื้อสาเหตุโรคพืชชนิดต่างๆที่พบได้บ่อย จนถึงวิธีการและกระบวนการจัดการโรคพืชที่เกษตรที่เกษตรกรสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง หรือต้องใช้ชีวภัณฑ์หรือสารเคมีอย่างเหมาะสม
รวมถึงการบรรยายในหัวข้อ การจัดการดิน แนวการปฏิบัติหลักการจัดการดินให้เหมาะสมสำหรับปลูกผัก แนวทางการตรวจวัดธาตุอาหารพืชในดิน การตรวจสอบอาการขาดธาตุอาหารพืชในพืชปลูก และหลักการวิธีการให้ปุ๋ยและธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสม
2. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการจัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ “หมอนสมุนไพรสร้างสุขภาพ”และ “ลูกประคบหน้าใส” โดยมี รศ.ดร.ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ พัฒนานวัตกรรม ผศ.ดร.ภารณี นิลกรณ์ ประธานสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และอาจารย์ประจำสาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย “หมอนสมุนไพรสร้างสุขภาพ” ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้รับการยอมรับ
เนื่องจากการเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชนตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตโดยไม่สนใจสุขภาพของตนเอง อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยและปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของแพทย์ในการค้นหาและดำเนินการรักษา และหากต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีพลังกายและพลังใจในการสร้างความรู้รักสามัคคีการเสริมสร้างด้านสุขภาพ นับว่ามีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยใหม่ เพื่อสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง โอกาสที่ร่างกายเจ็บป่วยก็จะน้อยลง ภูมิปัญญาการแพทย์แผน ไทยและการแพทย์ทางเลือกในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน จึงกลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ โดยกิจกรรมจัดมีกลวิธีผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ หมอพื้นบ้าน และแพทย์แผนไทยคอยให้ความรู้ คำชี้แนะและเป็นที่ปรึกษา และสามารถพัฒนาต่อยอดโดยบูรณาการในชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนา อาชีพให้กับกลุ่มวัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชนท้องถิ่นที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจัดกิจกรรมขึ้นเป็น 2 กิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ "หมอนสมุนไพรสร้างสุขภาพ" และการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างเสริมสุขภาพ ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้อง ประชุม เทศบาลตำ บลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ "ลูกประคบหน้าใส" และการพัฒนา บรรจุภัณฑ์สร้างเสริมสุขภาพ ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมและความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากชุมชม สร้างกลุ่มเครือข่ายรักสุขภาพด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตำบลโพรงมะเดื่อ
3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เป็นการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชนม์ ตั้งวชิระพันธ์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม วันที่ 13 - 14 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 08.30 – 16.30 น.
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลสำหรับสูบน้ำในคลองเพื่อใช้สำหรับแปลงเกษตร เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนในชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์กันได้อย่างถ้วนหน้า และการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์จะไม่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชนอีกต่อไป
4. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัยตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการในเดือนมกราคม 2565 – เดือนกรกฎาคม 2565 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน ปฏิบัติการการจัดการดิน
2. การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพระบบการผลิตให้กับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัยอย่างยั่งยืน ได้แก่ การเพาะเห็ดในซุ้มเห็ด การปลูกผักปลอดภัย ปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืชภายในแปลงปลูก รายละเอียดเพิ่มเติม
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและยกระดับระบบการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย
2. ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายในการซื้อหาค่าอาหารประจำวัน จากการมีแหล่งอาหารที่ผลิตได้เอง
3. เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างข้างบ้านในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน
5. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 สำหรับพิธีลงนามฯ ดังกล่าว สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบประชารัฐระหว่าง ราชการส่วนภูมิภาค คือ พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด ภาควิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กหรือ SMEs เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริโภค และเพื่อสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยผ่านการจัดนิทรรศการหรือ Digital Market Platform ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้มีการเชื่อมต่อตาม หลักการ University as a Marketplace รายละเอียดเพิ่มเติม
12. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.4 นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน
มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 20 ปี
(พ.ศ. 2560 -2579) โดยได้กำหนด วิสัยทัศน์ไว้ว่า
“มหาวิทยาลัยราชภัฏเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นเลิศ โดยกระบวนจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน”
ต่อมาได้มีการประชุมเพื่อทบทวนแผนฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 จึงได้ปรับวิสัยทัศน์เป็น
“มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นสถาบัน หลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ”
โดยมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี เป็นพลเมืองดีในสังคม และมีสมรรถนะตามความ ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มุ่งเน้น การบูรณาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ สภาพปัญหาและความ ต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนให้ มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม และบริหารจัดการทรัพยากรภายใน มหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาลพร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติม หน้า92
มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี เป็นที่ปรึกษาในพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดนครปฐม ในการวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนาทางด้านเกษตร ด้านแปรรูป (SME/OTOP) และด้านท่องเที่ยว ของจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการยกระดับรายได้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ ประจำจังหวัด ในการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม
13. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน
ตัวชี้วัดที่ 1.4 โครงการขจัดความยากจนของชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.4 นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน
มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (พ.ศ. 2566 -2570)
มหาวิทยาลัยมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี เป็นพลเมืองดีในสังคม และมีสมรรถนะตามความ ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มุ่งเน้น การบูรณาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ สภาพปัญหาและความ ต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนให้ มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม และบริหารจัดการทรัพยากรภายใน มหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาลพร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
14. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของมหาวิทยาลัยในระดับท้องถิ่น
นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของมหาวิทยาลัยในระดับท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี เป็นที่ปรึกษาในพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดนครปฐม ในการวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนาทางด้านเกษตร ด้านแปรรูป (SME/OTOP) และด้านท่องเที่ยว ของจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการยกระดับรายได้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม
คำสั่งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ
15. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของมหาวิทยาลัยในระดับชาติ
นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของมหาวิทยาลัยในระดับชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ ประจำจังหวัด ในการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม
คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด
16. โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมงานกับ จังหวัดนครปฐม ตามโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ วัดวังตะกู ตำบลวังตะกู อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร หรือประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการได้รับความรู้และการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกัน โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ได้ให้บริการวิชาการด้านคลินิกเกษตร ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีการนำพันธุ์พริกกะเหรี่ยงที่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชได้ทำการขยายพันธุ์แจกจ่าย ให้กับประชาชน และบริการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้น
17. นโยบายการจัดหาอย่างมีจริยธรรม
นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University)
มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University) เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร้านค้าผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
18. นโยบายการกำจัดขยะ - นโยบายการฝังกลบ
ตัวชี้วัดย่อย 12.2.3 นโยบายการกำจัดขยะ - นโยบายการฝังกลบ
แผนงานและดำเนินการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) โดยได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
ที่หน่วยงานได้จัดหาถังขยะ 4 สี ในการแยกแต่ละประเภทดังนี้
1. ถังขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก) : สีเขียว
2. ถังขยะทั่วไป : สีน้ำเงิน
3. ถังขยะรีไซเคิล : สีเหลือง
4. ถังขยะอันตราย : สีแดง
ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดวางถังขยะรวมของทุกชั้น ภายในอาคารทั้ง 2 อาคาร โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก ซึ่งได้จัดหาถังขยะเฉพาะสำหรับการทิ้งก่อนการคัดแยก) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล โดยฝ่ายบริหารฯ ได้มอบหมายให้พ่อบ้าน แม่บ้าน ดำเนินการคัดแยกขยะ โดยหน่วยงานได้จัดวางถังขยะแยกประเภททั้ง 4 ประเภทไว้ภายนอกอาคาร จำนวน 2 จุด และภายในอาคาร 1 จุด 3 ประเภท (ยกเว้นถังขยะอันตราย : สีแดง) ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ตัวชี้วัดคุณภาพ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะประจำปี 2565
ในแต่ละประเภทขยะส่งจำหน่าย ขยะส่งจำกัด และขยะนำกลับมาใช้ใหม่
ตัวชี้วัดปริมาณ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะประจำปี 2565 ในแต่ละประเภทขยะส่งกำจัด จำนวน 204.30 กก. ขยะส่งจำหน่าย จำนวน 957.10 กก.และขยะนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 86.30 กก.
19. นโยบายการลดการใช้พลาสติก
กิจกรรมให้ยืมถุงผ้าใส่หนังสือกลับบ้าน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ยืมถุงผ้าใส่หนังสือกลับบ้าน เริ่มเดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อส่งเสริมการอ่าน และเป็นการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยจัดให้บริการยืมกระเป๋าผ้าสำหรับผู้มาใช้บริการยืมหนังสือตั้งแต่ 3 เล่มขึ้นไป จะได้สิทธิ์ขอยืมกระเป๋าผ้าได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือ รายละเอียดเพิ่มเติม
20. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนเกษตรปลอดภัย บ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ตัวชี้วัดย่อย 1.4.3 การให้บริการจัดฝึกอบรม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนเกษตรปลอดภัย บ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองแขม ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัยตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงดินด้วยวัสดุเกษตรเหลือทิ้งในท้องถิ่น
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
มหาวิทยาลัยได้จัดการบรรยายและปฏิบัติการวางแผนการปลูกพืช การเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อผลิตผักปลอดภัยในระดับครัวเรือน การจัดการดิน การปรับปรุงสภาพดินก่อนปลูกพืช การถ่ายทอดความรู้ในการผลิตผักปลอดภัยอย่างครบวงจรให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้นำนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชไปร่วมเรียนรู้และร่วมปฏิบัติการกับครัวเรือนในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการบูรณาการพันธกิจด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ร่วมกับการบริการวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.1 การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพระบบการผลิตให้กับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัยอย่างยั่งยืน
1.2 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน
1.3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการเศษใบอ้อยในไร่อ้อยด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายใบอ้อย
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและยกระดับระบบการผลิตการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างข้างบ้านในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน
2. ครัวเรือนที่เข้ารับการพัฒนา มีรายได้ที่มั่นคง ต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ ร้อยละ 30 จำนวน 10 ครัวเรือน และสามารถลดรายจ่ายในการซื้อหาค่าอาหารประจำวัน จากการมีแหล่งอาหารที่ผลิตได้เอง จำนวน 55 ครัวเรือน
3. ลดพื้นที่การเผาไร่อ้อยในชุมชนลงไม่น้อยกว่า 200 ไร่
4. ชุมชนได้ขยายผลการดำเนินการโดยการบูรณาการความรู้ที่ได้จากการพัฒนา
21. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับสาขาวิชา 4 สาขาวิชาในมหาวิทยาลัย ได้ แก่ 1.สาขาการบริการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ 2.สาขานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง 3.สาขาศิลปศึกษา 4.สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในรูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
1. ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
2. พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนด้านการจัดการตลาดวิถีใหม่ เช่น การพัฒนาเมนูอาหารท้องถิ่นจาก วัตถุดิบในท้องถิ่น การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การจัดศิลปะการแสดงวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชนเพื่อการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) การสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์
3. พัฒนารูปแบบการจัดการตลาดวิถีใหม่โดยชุมชน
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการตลาดวีถีใหม่ มีการวางแผนทำการตลาดเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของทางชุมชนมาเปิดร้านขายในพื้นที่ตลาดนัดชุมชน และเพิ่มช่องทางทางในการขายผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของทางชุมชนห้วยม่วง ทำให้ทางชุมชนสามารถมียอดขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. จากการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนห้วยม่วงด้วยการอบรมการตลาดวิถีใหม่ ทำให้ทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารประจำถิ่น เพื่อใช้ในการให้บริการจัดเลี้ยงในการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) และการให้บริการนักท่องเที่ยว และคนในชุมชน ซึ่งทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารได้ทั้งหมด 10 เมนู ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชาวลาวครั่งที่ได้จากการพัฒนาต่อยอดให้มีสีสันหลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว ชุดการแสดงชุมชนที่เป็นการแสดงสำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยว 2 ชุดการแสดง
3. ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการไปต่อยอดในการจัดตลาดโดยการออกร้านที่เป็นร้านของทางชุมชนห้วยม่วงร่วมกับตลาดนัดที่มีขึ้นในชุมชนทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และในรูปแบบออนไลน์ และในระยะถัดไปทางชุมชนห้วยม่วงได้วางแผนในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้คนมาเที่ยวในชุมชนโดยการเตรียมจัดโครงการวิ่งมาราธอนกุ้งซิ่งที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางในการท่องเที่ยวโดยชุมชนและทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
22. การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน
ตัวชี้วัดย่อย 1.3.2 การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน
จำนวนผู้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดี เพื่อพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 140 ทุน โดยมีนักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดี เพื่อพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 สำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 17 คน รายละเอียดดังนี้
23. จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งสิ้น 68 หลักสูตร โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 3,701 คน
ข้อมูลจาก รายงานสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประจำปี 2564
24. ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย
25. โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาขาดแคลนคุณทรัพย์จากการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565
โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาขาดแคลนคุณทรัพย์จากการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยกองพัฒนานักศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมนิสิต นักศึกษา ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ด้วยการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในการพึ่งพาตนเองให้แก่นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงาน รับผิดชอบตนเอง รู้จัดค่าของเงิน และรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงเวลาที่กำลังศึกษาอยู่ นอกจากนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนคุณทรัพย์และต้องการหารายได้ระหว่างเรียนให้สามารถทำงานที่เหมาะสมกับสถานภาพต่อไป ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ทั้งนี้ได้ให้นักศึกษาทำงานในคณะ สาขาวิชาหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยให้ปฏิบัติงาน ในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ช่วงเวลาว่างที่ไม่มีวิชาเรียน หรือช่วงปิดภาคเรียน ไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน ได้รับค่าตอบแทน 300 บาทต่อคน และครั้งวัน 3 ชั่วโมงครึ่ง ได้ค่าตอบแทน 150 บาทต่อคน ในวงเงินจำนวน 400,000 บาท ซึ่งกองพัฒนานักศึกษาเป็นหน่วยงานดำเนินการจัดส่งนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานและเบิกจ่ายค่าตอบแทนในการจ้างงานให้กับนักศึกษา
26. การผ่อนชำระค่าเทอม
การผ่อนชำระค่าเทอม
มหาวิทยาลัยมีนโยบายช่วยเหลือนักศึกษาที่มีรายได้น้อย โดยการให้นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอผ่อนผันชำระค่าเทอมได้
27. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 (รายละเอียดเพิ่มเติม) และให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการในโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานการยกระดับมาตรฐานพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565
28. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 (รายละเอียดเพิ่มเติม) และให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการในโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานการยกระดับมาตรฐานพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565
29. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565 (รายละเอียดเพิ่มเติม) และให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการในโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานการยกระดับมาตรฐานพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ประจำปีงบประมาณ 2565
30. การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน
จำนวนผู้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดี เพื่อพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 140 ทุน โดยมีนักศึกษาผู้รับทุน ที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 25 คน รายละเอียดดังนี้
31. โครงการการสนับสนุนทุนการศึกษา
จำนวนนักศึกษาขาดแคลนที่ได้รับทุนการศึกษา
http://res2.npru.ac.th/recruit/detail.php?id=3
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ภายใต้โครงการการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2566 มีผลการพิจารณาทุนการศึกษาจำนวน 101 ราย โดยนักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และได้รับค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท
32. มาตรการประหยัดพลังงาน
มาตรการประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น มาตรการประหยัดไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำมัน มาตรการลดค่าใช้โทรศัพท์ มาตรการลดค่าไปรษณีย์ มาตรการประหยัดน้ำประปา การลดใช้พลาสติก
33. adadadadadadaadadad
adadadadadadadad