1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น
ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.2 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เครื่องใช้ประหยัดพลังงานรวมถึงระบบไฟ LED และเครื่องปรับอากาศที่มีใบรับรอง Label No.5 ใช้สำหรับอาคารใหม่ทั้งหมด สำหรับอาคารเก่า เครื่องใช้ทั่วไปได้ถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น ระบบไฟ LED
เครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ได้รับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาเป็นประจำ ในขณะที่เครื่องเก่ามีการเปลี่ยนใหม่ จากวิธีการดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานแล้ว โดยแทนที่อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วร้อยละ 26.32 ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงานใหม่
บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร ETB มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับจ่ายพลังงานให้กับระบบไฟส่องสว่างและเครื่องชาร์จในห้องปฏิบัติการไฟฟ้า (ETB 406) กำลังการผลิตรวมของระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์คือ 3.96 กิโลวัตต์ ระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ทำงาน 5.23 [1] ชั่วโมงต่อวัน และ 240 วันต่อปี แผงโซลาร์เซลล์มี 0.7 [2] ปัจจัยลดอัตราผลตอบแทนของพลังงาน (EF) กำลังผลิตไฟฟ้า 3.96 x 5.23 x 240 x 0.7 = 3,479.41 kWh/ปี
3. กระบวนการลดคาร์บอนและการลดการปล่อยมลพิษ
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.3 กระบวนการลดคาร์บอนและการลดการปล่อยมลพิษ
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดรถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการการเดินรถ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดมลภาวะจากการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย จึงได้มีโครงการนำรถไฟฟ้า (Electric Shuttle BUS) ในการรับ-ส่ง นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีรายละเอียดการให้บริการ คือ มีรถไฟฟ้าจำนวน 2 คัน สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้สูงสุด 22 ที่นั่ง/คัน วิ่งให้บริการรอบมหาวิทยาลัย ผ่านอาคาร และสถานที่สำคัญต่างๆ จำนวน 18 จุดจอด (Bus Stop) โดย 1 รอบมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะเวลาต่อรอบประมาณ 15 นาที ให้บริการในวันทำการ ตั้งแต่ 10.00 - 13.30 น. ใน 1 วัน มีจำนวน trips ทั้งหมด = 28 trips per day หรือคิดเป็นระยะทางทั้งหมด 56 kilometers per day และมีผู้โดยสารเฉลี่ย 120 คนในวันทำการ (person on weekday)
4. การวางแผนลดการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.4 วางแผนลดการใช้พลังงาน
1. สำนักงานสีเขียว
ตามยุทธศาสตร์สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวชี้ัวัด 4.2 การดำ เนินงานสำนักงานสีเขียว (Green office) ภายในสำนักงานอธิการบดี นั้น สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ตระหนักถึงการเสริมสร้างสำ นกงานสีเขียว สนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เฉพาะกลุ่มสำนักงานอธิการบดี เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบุคลากรในสำนักงานลดการใช้พลังงานและริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้ความเข้าใจในการบริการจัดการทรัพยากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายในสำนักงานอธิการบดี จึงได้จัดทำ คู่มือสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รายละเอียดเพิ่มเติม
2. โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้พลังงานโดยรวมของมหาวิทยาลัย เช่น การสนับสนุนให้ใช้หลอดประหยัดพลังงาน LED ในทุกอาคารของมหาวิทยาลัย
3. โครงการ "ผู้นำนวัตกรรมสีเขียว ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม"
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการ "ผู้นำนวัตกรรมสีเขียว ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยงานสู่ผู้นำนวัตกรรมสีเขียว การพัฒนาห้องสมุดให้เป็นต้นแบบของสังคมในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การสร้างเครือข่าย การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา และองค์กรภายนอกที่มีภารกิจในเรื่องดังกล่าว การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปี 2566 ตลอดจนมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย เรื่อง มหาวิทยาลัยแห่งความสุข มีเสถียรภาพ บริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ด้านการยกระดับมหาวิทยาลัยสู่ Green & Clean University และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : UI Green Metrics World University Ranking รายละเอียดเพิ่มเติม
5. นโยบายการเลิกกิจการ
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.6 นโยบายการเลิกกิจการ
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
6. ความหนาแน่นของการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดที่ 7.3 ความหนาแน่นของการใช้พลังงาน
- ปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด กิโลวัตต์ชั่วโมง (GJ)
- พื้นที่ชั้นอาคารมหาวิทยาลัย
7. การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดที่ 7.4 พลังงานและชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.1 การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลสำหรับสูบน้ำในคลองเพื่อใช้สำหรับแปลงเกษตร เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนในชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์กันได้อย่างถ้วนหน้า และการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์จะไม่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชนอีกต่อไป
8. ความมุ่งมั่นเพื่อพลังงานทดแทน 100%
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.2 ความมุ่งมั่นเพื่อพลังงานทดแทน 100%
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
9. การสูญเสียพลังงาน
ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย ระบบดังกล่าวทำหน้าที่ในการวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย โดยข้อมูล update ทุกๆ 5 นาที ผ่านหน้า dashboard แบบ real-time แสดงภาพรวมการใช้พลังงานไฟฟ้ารายอาคารโดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ การใช้พลังงานเฉลี่ยในแต่ละวันของสัปดาห์ การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายชั่วโมง และค่า Power Factor ของแต่ละอาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการวางแผนและออกนโยบายการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย เช่น การปรับปรุงค่า Power Factor ของอาคารให้เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงาน การออกนโยบายช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
10. การสูญเสียพลังงาน
ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย ระบบดังกล่าวทำหน้าที่ในการวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย โดยข้อมูล update ทุกๆ 5 นาที ผ่านหน้า dashboard แบบ real-time แสดงภาพรวมการใช้พลังงานไฟฟ้ารายอาคารโดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ การใช้พลังงานเฉลี่ยในแต่ละวันของสัปดาห์ การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายชั่วโมง และค่า Power Factor ของแต่ละอาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการวางแผนและออกนโยบายการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย เช่น การปรับปรุงค่า Power Factor ของอาคารให้เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงาน การออกนโยบายช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
11. การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.4 การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
12. มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่การจัดอันดับ UI Green Metric World University Ranking มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทดแทน เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยสู่ Green University
13. ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.5 ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ
- ไม่มีข้อมูล -
14. มหาวิทยาลัยใช้มาตรการพลังงานสะอาดและประหยัด
ตัวชี้วัดที่ 7.2 มหาวิทยาลัยใช้มาตรการพลังงานสะอาดและประหยัด
ตัวชี้วัดย่อย 7.2.1 การปรับปรุงและสร้างอาคารแบบประหยัดพลังงาน
อาคารอนุรักษ์พลังงาน “อาคารสิริวรปัญญา” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคาร "สิริวรปัญญา" เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 4,804 ตารางเมตร เพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอน, การบริการทางวิชาการ, และการประชุมสัมมนา อาคารดังกล่าว ยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ "แบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน" ระดับดีมาก จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
15. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
16. โครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์
โครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์
งานอาคารสถานที่ฯ ได้ดำเนินการโครงการและนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานสะอาดทดแทน มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยฯ มีแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย โดยได้มีการดำเนินโครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์ เพื่อพัฒนาพลังงานและความยั่งยืน ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
17. มาตรการประหยัดพลังงาน
มาตรการประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น มาตรการประหยัดไฟฟ้า มาตรการประหยักน้ำมัน มาตรการลดค่าใช้โทรศัพท์ มาตรการลดค่าไปรษณีย์ มาตรการประหยักน้ำประปา
18. แผนงานและดำเนินการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
แผนงานและดำเนินการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) โดยได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
ที่หน่วยงานได้จัดหาถังขยะ 4 สี ในการแยกแต่ละประเภทดังนี้
1. ถังขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก) : สีเขียว
2. ถังขยะทั่วไป : สีน้ำเงิน
3. ถังขยะรีไซเคิล : สีเหลือง
4. ถังขยะอันตราย : สีแดง
ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดวางถังขยะรวมของทุกชั้น ภายในอาคารทั้ง 2 อาคาร โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก ซึ่งได้จัดหาถังขยะเฉพาะสำหรับการทิ้งก่อนการคัดแยก) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล โดยฝ่ายบริหารฯ ได้มอบหมายให้พ่อบ้าน แม่บ้าน ดำเนินการคัดแยกขยะ โดยหน่วยงานได้จัดวางถังขยะแยกประเภททั้ง 4 ประเภทไว้ภายนอกอาคาร จำนวน 2 จุด และภายในอาคาร 1 จุด 3 ประเภท (ยกเว้นถังขยะอันตราย : สีแดง) ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ตัวชี้วัดคุณภาพ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะประจำปี 2565
ในแต่ละประเภทขยะส่งจำหน่าย ขยะส่งจำกัด และขยะนำกลับมาใช้ใหม่
ตัวชี้วัดปริมาณ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะประจำปี 2565 ในแต่ละประเภทขยะส่งกำจัด จำนวน 204.30 กก. ขยะส่งจำหน่าย จำนวน 957.10 กก.และขยะนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 86.30 กก.
19. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
มหาวิทยาลัยมีการสร้างระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร
ภายในมหาวิทยาลัยได้ทุกอาคาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบได้ว่ามีไฟค้างหรือไม่ ทำให้มหาวิทยาลัย
สามารถบริหารจัดการการใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
20. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
มหาวิทยาลัยมีการสร้างระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร
ภายในมหาวิทยาลัยได้ทุกอาคาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบได้ว่ามีไฟค้างหรือไม่ ทำให้มหาวิทยาลัย
สามารถบริหารจัดการการใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
21. การจัดประชุมออนไลน์
การจัดประชุมออนไลน์
มหาวิทยาลัยสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดประชุมในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการจัดทำแนวปฏิบัติในการประชุมออนไลน์
รวมถึงได้จัดทำแนวทางความปลอดภัยในการประชุมออนไลน์ภายใต้กฎหมาย PDPA
ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้มีการจัดประชุมออนไลน์ นั้น มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
จากการที่ต้องเดินทางมาเข้าร่วมประชุม เน้นรูปแบบการดำเนินงาน ดำเนินการประชุมโดยใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น
22. ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการลดปริมาณการใช้กระดาษ เพื่อลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรและค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม จึงได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสารเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการจัดเก็บและดำเนินการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เอกสารออนไลน์ อีเมล และข้อมูลสำคัญภายในองค์กร ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดทำระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) มาใช้ในการปฏิบัติงานด้านธุรการและงานสารบรรณ
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนให้มีการนำกระดาษที่ใช้แล้ว มา Recycle เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษตระหนักถึงความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน
ประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการใช้งาน ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) พ.ศ. 2561
23. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กับการเข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กับการเข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตระหนักถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ถึงได้เข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบกิจกรรมของมหาวิทยาลัยในการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการบูรณาการไปกับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นสีเขียว โดยใช้หลักการ 3E คือ Environment, Economics, Equity and Education โดยประกอบไปด้วยเกณฑ์ 6 ด้าน คือ
1. Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) รายละเอียดเพิ่มเติม
2. Energy and Climate Change (พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)
3. Waste management (การจัดการของเสีย)
4. Water usage (การจัดการน้ำ)
5. Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
6. Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน)
24. ห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตระหนักถึงความสำคัญและความรับผิดชอบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำห้องสมุดสีเขียว ตามแนวทางความยั่งยืนและมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2558 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดมาตรการการประหยัดไฟฟ้า การใช้น้ำประปา และการจัดการขยะ รวมถึงการใช้ทรัพยากร เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาไปสู่ห้องสมุดสีเขียว
ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดบคำนึงถึงประเด็นความท้าทายในด้านต่าง ๆ ความคาดหวังที่สังคมมีต่อมหาวิทยาลัย แนวนโยบายแห่งรัฐ แผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล แนวนโยบายต่าง ๆ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดตามกรอบแผนพัฒนาระยะยาวของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2565 – 2568 ซึ่งได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียวอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการ มีความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดเพิ่มเติม ห้องสมุดสีเขียว
25. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีตระหนักถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รวมถึงระบบไฟ LED และเครื่องปรับอากาศที่มีใบรับรองฉลากหมายเลข 5 ใช้สําหรับอาคารใหม่ทั้งหมด สําหรับอาคารเก่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปถูกแทนที่ด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เช่นระบบไฟ LED เครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ได้รับการทําความสะอาดและบํารุงรักษาเป็นประจําในขณะที่เครื่องเก่าได้รับการเปลี่ยนใหม่ จากวิธีการดังกล่าวมหาวิทยาลัยได้ดําเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานแล้วโดยเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ 26.32% ด้วยอุปกรณ์ประหยัดพลังงานใหม่ดังแสดงในตารางที่ 1
26. ระบบตรวจจับการใช้พลังงานสิ้นเปลือง สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
ระบบตรวจจับการใช้พลังงานสิ้นเปลือง สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ทำการวิจัยการลดพลังงานไฟฟ้า ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยการบูรณาการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนําไปใช้กับเครื่องตีน้ำในฟาร์มกุ้ง โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการทดสอบระบบตรวจจับการใช้พลังงานสิ้นเปลือง เพื่อที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องตีน้ำได้อย่างยั่งยืน ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยได้เข้าไปทำงานวิจัยในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำการเกษตรในด้านต่างๆ ด้วย
27. การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดที่ 7.4 พลังงานและชุมชน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.1 การเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลสำหรับสูบน้ำในคลองเพื่อใช้สำหรับแปลงเกษตร เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานที่ยั่งยืนในชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์กันได้อย่างถ้วนหน้า และการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์จะไม่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชนอีกต่อไป
28. โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
มหาวิทยาลัยจัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการปฐมนิเทศและอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานในชุมชน และแนวทางการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน มุ่งเน้นการยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน เพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบการตลาดได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
29. การใช้พลังงานทดแทน
การใช้พลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นในการใช้พลังงานทดแทน เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากการติดตั้งแผงโซลาเซลตามอาคารต่างๆ โดย พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ 3,479.41 kWh ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 4,585,959.44 kWh สัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนต่อการใช้พลังงานเท่ากับ 0.07% ดังแสดงในตาราง
30. การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยตระหนักถึงมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกของมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกประเภท เช่น มีนโยบายในการปรับเปลี่ยนการใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอน
31. ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมมือกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เพื่อปรับปรุงระบบน้ำโดยใช้ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นฐานการเรียนรู้สำหรับการจัดการน้ำ ผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Lighting Systems) ทําให้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เหมาะสำหรับสนับสนุนกิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่างๆ ให้กับชุมชน
32. ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
33. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
มหาวิทยาลัยมีการสร้างระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร
ภายในมหาวิทยาลัยได้ทุกอาคาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบได้ว่ามีไฟค้างหรือไม่ ทำให้มหาวิทยาลัย
สามารถบริหารจัดการการใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีระบบตรวจวัดการใช้พลังงานตามอาคาร เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร เพื่อนำมาวิเคราะห์และบริหารจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
34. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อวางแผนลดการใช้พลังงาน
มหาวิทยาลัยมีการสร้างระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร
ภายในมหาวิทยาลัยได้ทุกอาคาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบได้ว่ามีไฟค้างหรือไม่ ทำให้มหาวิทยาลัย
สามารถบริหารจัดการการใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีระบบตรวจวัดการใช้พลังงานตามอาคาร เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแต่ละอาคาร เพื่อนำมาวิเคราะห์และบริหารจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
35. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
ตัวชี้วัดย่อย 7.4.4 การพัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
1. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
36. เข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings
มหาวิทยาลัยเข้าร่วม UI GreenMetric World University Rankings ซึ่งเป็นการวัดและจัดอันดับโดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia : UI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นการจัดอันดับสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบกิจกรรมของมหาวิทยาลัยในการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการบูรณาการไปกับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นสีเขียว โดยใช้หลักการ 3E คือ Environment, Economics, Equity and Education โดยประกอบไปด้วยเกณฑ์ 6 ด้าน คือ
1. Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
2. Energy and Climate Change (พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
3. Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
4. Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
5. Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
6. Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%
ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งในสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และ รักษาพลังงานอย่างยั่งยืน
เว็บไซต์ ์ : NPRU UI GreenMetric
37. คณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อดำเนินการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายอนุรักษ์พลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่กำหนดขึ้น
2. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวิธีการจัดการพลังงาน รวมทั้งจัดการอบรมหรือกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน
3. เพื่อควบคุมดูแลให้วิธีการจัดการพลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้กับเจ้าของอาคาร/ผู้บริหารระดับสูงรับทราบ
5. เพื่อทบทวนนโยบายอนุรักษ์พลังงานและการจัดการพลังงานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและวิธีการจัดการพลังงานให้เจ้าของอาคาร/ผู้บริหารระดับสูงพิจารณา
รายละเอียด : คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
38. นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
39. โครงการติดตั้งระบบโซลาเซลล์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
โครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์
งานอาคารสถานที่ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ดำเนินการโครงการและนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานสะอาดทดแทน มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยฯ มีแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย โดยได้มีการดำเนินโครงการติดตั้งระบบโซลาร์เซล์ เพื่อพัฒนาพลังงานและความยั่งยืน
1. ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดซื้อระบบโซลาเซลล์
2. การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ของส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
40. มาตรการประหยัดพลังงาน
มาตรการประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น มาตรการประหยัดไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำมัน มาตรการลดค่าใช้โทรศัพท์ มาตรการลดค่าไปรษณีย์ มาตรการประหยัดน้ำประปา การลดใช้พลาสติก
41. อาคารอนุรักษ์พลังงาน “อาคารสิริวรปัญญา” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคารอนุรักษ์พลังงาน “อาคารสิริวรปัญญา” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคาร "สิริวรปัญญา" เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 4,804 ตารางเมตร เพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอน, การบริการทางวิชาการ, และการประชุมสัมมนา อาคารดังกล่าว ยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ "แบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน" ระดับดีมาก จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
42. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดรถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดรถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการการเดินรถ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดมลภาวะจากการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย จึงได้มีโครงการนำรถไฟฟ้า (Electric Shuttle BUS) ในการรับ-ส่ง นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีรายละเอียดการให้บริการ คือ มีรถไฟฟ้าจำนวน 2 คัน สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้สูงสุด 22 ที่นั่ง/คัน วิ่งให้บริการรอบมหาวิทยาลัย ผ่านอาคาร และสถานที่สำคัญต่างๆ จำนวน 18 จุดจอด (Bus Stop) โดย 1 รอบมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะเวลาต่อรอบประมาณ 15 นาที ให้บริการในวันทำการ ตั้งแต่ 10.00 - 13.30 น. ใน 1 วัน มีจำนวน trips ทั้งหมด = 28 trips per day หรือคิดเป็นระยะทางทั้งหมด 56 kilometers per day และมีผู้โดยสารเฉลี่ย 120 คนในวันทำการ (person on weekday)
43. โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้พลังงานโดยรวมของมหาวิทยาลัย เช่น การสนับสนุนให้ใช้หลอดประหยัดพลังงาน LED ในทุกอาคารของมหาวิทยาลัย
ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เรื่อง ประกวดราคาซื้อหลอดประหยัดพลังงาน LED โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED
https://news.npru.ac.th/u_news/news_detail.php?news_id=6806
44. สำนักงานสีเขียว
สำนักงานสีเขียว
ตามยุทธศาสตร์สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวชี้ัวัด 4.2 การดำ เนินงานสำนักงานสีเขียว (Green office) ภายในสำนักงานอธิการบดี นั้น สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ตระหนักถึงการเสริมสร้างสำ นกงานสีเขียว สนับสนุนการบริหารจัดการ
สิ่งแวดล้อม เฉพาะกลุ่มสำนักงานอธิการบดี เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบุคลากรในสำนักงานลดการใช้พลังงานและริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้ความเข้าใจในการบริการจัดการทรัพยากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายในสำนักงานอธิการบดี จึงได้จัดทำ คู่มือสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
http://president.npru.ac.th/president2/pdf/25651011-greenUni1.pdf
45. ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
ระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีระบบเฝ้าระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย ระบบดังกล่าวทำหน้าที่ในการวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารของมหาวิทยาลัย โดยข้อมูล update ทุกๆ 5 นาที ผ่านหน้า dashboard แบบ real-time แสดงภาพรวมการใช้พลังงานไฟฟ้ารายอาคารโดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ การใช้พลังงานเฉลี่ยในแต่ละวันของสัปดาห์ การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายชั่วโมง และค่า Power Factor ของแต่ละอาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการวางแผนและออกนโยบายการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย เช่น การปรับปรุงค่า Power Factor ของอาคารให้เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงาน การออกนโยบายช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย